ປະວັຕວັນເຂົ້າພັນສາ
"ເຂົ້າພັນສາ" ແປວ່າ "ພັກຝົນ" ຫມາຍເຖິງ ພຣະພິກຂຸສົງຄ໌ຕ້ອງຢູ່ປະຈຳ ໃນວັດໃດວັດຫນຶ່ງຣະຫວ່າງລະດູຝົນ ໂດຍເຫຕທີ່ພຣະພິກຂຸໃນສມັຍພຸດທະກາລ ມີຫນ້າທີ່ຈະຕ້ອງຈາຣິກໂປດສັຕວ໌ ແລະເຜີຍແຜ່ພຣະທັມຄຳສັ່ງສອນແກ່ປະຊາຊົນໄປໃນທີ່ຕ່າງໆ ບໍ່ຈຳເປັນຕ້ອງມີທີບ່ອນຢູ່ປະຈຳ ແມ່ນໃນລະດູຝົນ ຊາວບ້ານຈຶ່ງຕຳຫນິວ່າໄປຢຽບເຂົ້າກ້າແລະພືດພັນອື່ນໆ ຈົນເສຍຫາຍ ພຣະພຸດທະເຈົ້າຈຶ່ງຊົງວາງຣະບຽບກາຣຈຳພັນສາໃຫ້ພຣະພິກຂຸຢູ່ປະຈຳທີ່ບ່ອນເກົ່າຕລອດ 3 ເດືອນ ໃນຣະດູຝົນ ຄືເຣີ່ມຕັ້ງແຕ່ວັນແຮມ 1 ຄ່ຳ ເດືອນ 8 ຂອງທຸກປີ ຮຽກວ່າ "ປຸຣິມພັນສາ"
ຖ້າປີໃດມີເດືອນ 8 ສອງຄັ້ງ(ສອງຫົນ) ກໍ່ເລື່ອນມາເປັນວັນແຮມ 1 ຄ່ຳ ເດືອນແປດຫລັງ ແລະອອກພັນສາໃນວັນຂຶ້ນ 15 ຄ່ຳ ເດືອນ 11 ຮຽກວ່າ "ປັຈສິມພັນສາ" ເວັ້ນແຕ່ມີກິຈທຸຣະຄືເມື່ອເດີນທາງໄປແລ້ວບໍ່ສາມາດຈະກັບໄດ້ໃນມື້ນັ້ນ ກໍຊົງອະນຸຍາຕໃຫ້ໄປແຮມຄືນໄດ້ ຄາວຫນຶ່ງບໍ່ເກີນ 7 ຄືນ ຮຽກວ່າ "ສັຕຕາຫະ" ຫາກເກີນກຳຫນົດນີ້ຖືວ່າບໍ່ໄດ້ຮັບປະໂຫຍດແຫ່ງກາຣຈຳພັນສາ ຈັດວ່າພັນສາຂາດ. ສຳຫຼັບຂໍ້ຍົກເວັ້ນໃຫ້ພິກຂຸຈຳພັນສາທີ່ບ່ອນອື່ນໄດ້ ໂດຍບໍ່ຖືເປັນກາຣຂາດພັນສາ ເວັ້ນແຕ່ເກີນ 7 ວັນ ໄດ້ແກ່ 1. ກາຣໄປຮັກສາພະຍາບາລພິກສຸຫຼືຶບິດາມາຣດາທີ່ເຈັບປ່ວຍ 2. ກາຣໄປຣະງັບພິກຂຸສາມະເນຣທີ່ຢາກຈະສິກບໍ່ໃຫ້ສິກໄດ້ 3. ກາຣໄປເພື່ອກິຈທຸຣະຂອງຄະນະສົງຄ໌ເຊັ່ນ ກາຣໄປຫາອຸປະກອນ໌ມາຊ່ອມກຸຕິທີ່ຊຳລຸດເປ່ເພ 4. ຫາກທາຍົກນິມົນຕ໌ໄປທຳບຸນ ກໍໄປສລອງສັທທາໃນກາຣບຳເພັນກຸສົລຂອງເຂົາໄດ້
ທັ້ງນີ້ ໂດຍປົກກະຕິເຄື່ອງໃຊ້ສອຍຂອງພຣະຕາມພຸດທານຸຍາຕໃຫ້ມີປະຈຳຕົວນັ້ນ ມີພຽງອັຖຖະບໍຣິຂາຣ ອັນໄດ້ແກ່ ຜ້າສະບົງ ຈີວຣ(ຜ້າຄຸມ) ສັງຄາຕິ(ຜ້າສັງຄາ) ເຂັມ ບາຕ ສາຍປະຄົດ(ສາຍຮັດມັດແອວ) ຫມໍ້ຕອງນ້ຳ ແລະມີດໂກນ ແລະກວ່າພຣະທ່ານຈະຫາທີ່ບ່ອນພັກແຮມໄດ້ ບາງທີກໍຖືກຝົນຕົ້ນຣະດູຕົກຮຳປຽກມາ ຊາວບ້ານທີ່ໃຈບຸນຈຶ່ງຖວາຢຜ້າອາບນ້ຳຝົນສຳຫຼັບໃຫ້ທ່ານໄດ້ຜັດປ່ຽນ ແລະຖວາຍຂອງຈຳເປັນແກ່ກິຈປະຈຳວັນຂອງທ່ານເປັນພິເສສໃນວັນເຂົ້າພັນສາ ນັບເປັນເຫຕໃຫ້ມີປະເພນີທຳບຸນເນື່ອງໃນວັນນີ້ສືບມາ... ຢ່າງໄດກໍຕາມ ແມ່ນກາຣເຂົ້າພັນສາຈະເປັນເຣື່ອງຂອງພຣະພິກສຸ ແຕ່ພຸດທະສາສນິກຊົນກໍຖືເປັນໂອກາສດີທີ່ຈະໄດ້ທຳບຸນຮັກສາສີລ ແລະຊຳຣະຈິຕໃຈໃຫ້ຜ່ອງໃສ ກ່ອນວັນເຂົ້າພັນສາຊາວບ້ານກໍຈະໄປຊ່ວຍພຣະທຳຄວາມສະອາດເສນາສະນະ ສ້ອມແຊມກຸຕິວິຫາຣແລະອື່ນໆ ພໍເຖິງວັນເຂົ້າພັນສາກໍຈະໄປຮ່ວມທຳບຸນຕັກບາຕ ຖວາຍເຄື່ອງສັກກາຣະບູຊາ ດອກໄມ້ ທູບທຽນ ແລະເຄື່ອງໃຊ້ ເຊັ່ນ ສະບູ ຢາຖູແຂ້ວ ເປັນຕົ້ນ ພ້ອມຟັງເທສນ໌ ຟັງທັມ ແລະຮັກສາອຸໂປສົຖສີລກັນຢູ່ທີ່ວັດ ບາງຄົນອາຈຕັ້ງໃຈງົດເວັ້ນອະບາຍຍະມຸຂຕ່າງໆ ເປັນກໍຣະນີພິເສສ ເຊັ່ນ ງົດເສພສຸຣາ ງົດຂ້າສັຕວ໌ ເປັນຕົ້ນ
ອະນຶ່ງ ບິດາມາຣດາມັກຈະຈັດພິທີອຸປສົມບົທໃຫ້ລູກຫລານຂອງຕົນ ໂດຍຖືກັນວ່າກາຣເຂົ້າບວດຮຽນແລະຢູ່ຈຳພັນສາໃນຣະຫວ່າງນີ້ຈະໄດ້ຣັບອານິສົງສ໌ ຢ່າງສູງ ວັນເຂົ້າພັນສາ ນອກຈາກນີ້ ຍັງມີປະເພນີສຳຄັນທີ່ຂາດບໍ່ໄດ້ເລີຍ ຄື "ປະເພນີຫລໍ່ທຽນເຂົ້າພັນສາ" ປະເພນີທີ່ກະທຳກັນເມື່ອໃກ້ເຖິງຣະດູເຂົ້າພັນສາ ຊຶ່ງມີມາຕັ້ງແຕ່ບູຮານນະກາລ ກາຣຫລໍ່ທຽນເຂົ້າພັນສານີ້ ມີຢູ່ເປັນປະຈຳທຸກປີ ເພາະໃນຣະຍະເຂົ້າພັນສາ ພຣະພິກຂຸຈະຕ້ອງມີກາຣໄຫວ້ພຣະສູດມົນຕ໌ທຳວັຕຣທຸກເຊົ້າ�ແລງ ແລະໃນກາຣນີ້ຈະຕ້ອງມີທູບ-ທຽນຈູດບູຊາພ້ອມ ພຸດທະສາສະນິກະຊົນທັ້ງຫລາຍຈຶ່ງພ້ອມ ໃຈກັນຫລໍ່ທຽນເຂົ້າພັນສາສຳຫລັບໃຫ້ພຣະພິກຂຸຈູດເປັນກາຣກຸສົລທານຢ່າງຫນຶ່ງ ເພາະເຊື່ອກັນວ່າໃນກາຣໃຫ້ທານດ້ວຍແສງສວ່າງ ຈະມີອານິສົງສ໌ເພີ່ມພູນປັນຍາຫູຕາສວ່າງສະໄຫວ ຕາມຊົນນະບົທນັ້ນ ກາຣຫລໍ່ທຽນເຂົ້າພັນສາເຮັດກັນຢ່າງເອີກກະເຫລີກສະນຸກມ່ວນຊື່ນ ເມື່ອຫລໍ່ສຳເຣັຈແລ້ວ ກໍ່ຈະມີກາຣແຫ່ແຫນອ້ອມຮອບສິມ(ອຸໂປສົຖ) 3 ຮອບ ແລ້ວນຳໄປບູຊາພຣະຕລອດຣະຍະເວລາ 3 ເດືອນ ບາງແຫ່ງກໍ່ມີກາຣປະກວດກາຣຕົກແຕ່ງ ມີກາຣແຫ່ແຫນຮອບເມືອງດ້ວຍຂະບວນທີ່ສວຍງາມ ໂດຍຖືວ່າເປັນງານປະຈຳປີໄປພ້ອມເລີຍ ກິດຈະກັມຕ່າງໆ ທີ່ຄວນປະຕິບັຕໃນວັນເຂົ້າພັນສາ - ຮ່ວມກິດຈະກັມເຮັດທຽນຈຳນຳພັນສາ - ຮ່ວມກິດຈະກັມຖວາຍຜ້າອາບນ້ຳຝົນ ແລະຈະຕຸປັຈໄຈ ແກ່ພຣະພິກຂຸສາມະເນຣ - ຮ່ວມທຳບຸນ ຕັກບາຕຣ ຟັງທັມເທສນາ ຮັກສາອຸໂປສົຖສີລ - ອະທິສຖານງົດເວັ້ນອະບາຍຍະມຸຂຕ່າງໆ ສຳລັບຜູ້ໃຫ້ທານ ຮັກສາສີລໃນເທສະການເຂົ້າພັນສາ ຈະໄດ້ຜະຫຼາອານິສົງຫຼາຍ ຍ້ອນວ່າພຣະພິກຂຸ ຈຳວັດປະຕິບັດທັມຜູ້ໄດ້ອຸປະຖາກຮັກສາ ຈະປະສົບຜົລສຳເຣັຈ, ຈະເປັນຜູ້ຈະເຣີນໃນທາງທັມ ແລະ ຈົ່ງເອົາຕົນເຂົ້າວັດປະຕິບັດ ເພື່ອຂູດເກົາຈິດໃຈໃຫ້ເປັນຜູ້ຮູ້ໃຫ້ອະໄພ ໃຫ້ຮູ້ເທົ່າທັນປັນຫາອາໃສຫຼັກທັມ ເປັນແສງສວ່າງເຍື່ອງທາງໃນການດຳເນີນຊີວິດ ເພື່ອຄວາມຜາສຸກໃນຊາດນີ້ ແລະ ພົບໜ້າ.
บ้านนา ธรรมะ
ป้ายกำกับ
- กอนลำบุญข้าวสาก อรวรรณ รุ่งเรือ
- การทอดกฐิน
- “ครอง 14”
- งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี 23 -28 กรกฎาคม 2561
- เดินตามพระพุทธเจ้า
- เดือนสาม บุญข้าวจี่
- ตักบาตรเทโว
- ตำนานพญานาค
- ธรรมะจากท่านพุทธทาสภิขุ เรื่องรักผู้อื่น
- บุญ
- บุญเข้าประดับดิน (บุญเดือนเก้า)
- บุญเดือนสิบ บุญข้าวสาก
- ประเพณีบุญกฐิน
- ประวัติวัดพระธาตุพนม|ປະຫວັດຄວາມເປັນມາຂອງວັດພະທາດພະນົມ
- วันเข้าพรรษาตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘
- วันฏฐมีบูชา
- วันมาฆบูชา
- วันลอยกระทง 2017
- วันลอยกระทง 2562 (Loy Krathong Festival)
- วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
- วันออกพรรษา
- วันออกพรรษา 05-10-2560
- วันออกพรรษา2560
- วันออกพรรษา 2561 ประวัติวันออกพรรษา
- วันอาสาฬหบูชา
- วิถีลาว วิถีพุทธ
- เส้นผมบังภูเขา
- ໃກ້ຈະຮອດແລ້ວ! ເຊີນທ່ຽວ ງານບຸນນະມັດສະການພະທາດອີງຮັງ ປີ 2017
- ຂໍເຊີນເຂົ້າຮ່ວມງານຂອດພັດທະສີມາປ່ອນບີສີມຕັດລູກນິມີດສົມໂພດພຣະ
- ຄະຕິທັມຄຳສອນ"ເກີດມາເພື່ອເຍືອນໃບນີ້"
- ບຸນຫໍ່ເຂົ້າປະດັບດີນ
- ປະເພນີບຸນເຂົ້າສະຫລາກ 02.09.2020
- ປະວັຕວັນເຂົ້າພັນສາ
- ປະຫວັດຍາປູ່ຕື້
วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ຄະຕິທັມຄຳສອນ"ເກີດມາເພື່ອເຍືອນໃບນີ້"🤟
ເກີດມາເພື່ອເຍືອນໂລກໃບນີ້
1.ເມື່ອໃດທີ່ອາລົມໂມໂຫ ຢາກຮ້າຍ ລອງນັ່ງນິ່ງໆທົບທວນເບີ່ງວ່າ...ເວລາທີ່ເຫລື່ອຢູ່ໃນຊີວິດນີ້ມີອີກສັກກິ່ວັນ ເປັນຫຍັງຕ້ອງມາເສຍເວລາກັບເລື່ອງທີ່ບໍ່ເປັນເລື່ອງ ຢ່າເລີ່ມຕອນເຊົ້າກັບວັນໃຫມ່ດ້ວຍຄວາມຮູ້ສຶກທີ່ແຍ່ໆ...ກັບຊີວິດເລີຍ ໃຫ້ເລີ່ມດ້ວຍອາລົມທີ່ໃຫ້ຊົດຊື່ນເບີກບານກັບການໃຊ້ຊີວິດຢ່າງມີຄວາມສຸກໃຫ້ເຕັມທີ່...
2.ບໍ່ມີໃຜຖຶກ ບໍ່ມີໃຜຜິດ ທຸກໆເລື່ອງທີ່ເກີດຂື້ນຫາກລອງຄິດໆເບີ່ງດີໆ ຈະພົບວ່າ ມີແຕ່ ຖຶກໃຈ ກັບບໍ່ຖຶກໃຈ "ຖ້າຫາກເຮົາເຮັດຖຶກໃຈເບີ່ງແນວໃດເຂົາກະວ່າເຮົາດີໄປຫມົດ
ແຕ່...ຖ້າຫາກເຮົາເຮັດບໍ່ຖຶກໃຈເຂົາເຖີງສິເວົ້າດີແສນດີເຂົາກະຍັງເວົ້າວ່າດີບໍ່ພໍສຳລັບເຂົາ
(ຜິດຕະຫລອດເວລາ)
ເພາະສະນັ້ນຢ່າໄປເກັບເອົາມາຄິດໃຫ້ເສຍເວລາຂອງຊີວິດທີ່ມີຢູ່ ບໍ່ໃຜເອົາໃຈໃຜໄດ້ທຸກໆຄົນ...
3.ເມື່ອໃດທີ່ກຸ້ມໃຈພົບບັນຫາເລື່ອງລາວຂອງຊີວິດ ລອງສູດລົມຫາຍໃຈລຶກໆ ແລ້ວຄິດດູວ່າ ຟ້າຫລັງຝົນຍອມຊົດໃສສະເຫມີຊີວິດຍອມພົບເຈີບັນຫາເປັນເລື່ອງທຳດາຂອງສາມັນຊົນເຮົາ
4.ການທີ່ເຮົາທຸກໆຄົນໄດ້ພົບໄດ້ເຫັນຫນ້າກັນໃນວັນນີ້ ຫມາຍຄວາມວ່າ ຫມົດໂອກາດສິໄດ້ພົບເຈີກັນໄປອີກຄັ້ງຫນຶງແລ້ວແລ້ວ...
ເຮົາຈະຜິດທ່ຽງກັນຍອນເລື່ອງບໍ່ເປັນເລື່ອງເຮັດຫຍັງ....?...
(ຮັກແພງກັນດີກວ່າຊັງກັນພີ່ນ້ອງເອີຍ)
5ເລື່ອງຫລາຍໆ ເລື່ອງທີ່ຜ່ານເຂົ້າມາໃນຊີວິດ ມັນກໍແຄ່ມາກະທົບເຮົາ ຊົ່ວຄູ ຊົ່ວຄາວ ດຽວດຽວມັນກໍຜ່ານໄປ ທຸກກໍເຂົ້າມາແປບໆດຽວ ດຽວກໍຜ່ານໄປ... ສຸກກໍເຂົ້າມາແປບໆດຽວ ດຽວກໍຈະຜ່ານໄປ....
6ເມື່ອໃດທີ່ເຮົາຖຶກເອົາປ່ຽບຄົນອື່ນເຂົາ ລອງປ່ອຍວ່າງເບີ່ງວ່າ ເອົາປ່ຽບຄົນຫລາຍຈະເສຍເພື່ອນມິດສະຫາຍ ຄິດເລັກຄິດນ້ອຍເສຍເວລາ ຊື່ສັດດີກວ່າ (ຈິງໃຈ) ເວລາທາງໃດຈະບໍ່ມີຄົນເວົ້າລັບຫລັງໃນທາງທີ່ບໍ່ດີ ແຄ່ນີ້ກໍພຽງພໍ ໃຫ້ເຮົາສຸກໃຈໄດ້ແລ້ວ...
7ເມື່ອໃດທີ່ໃຜບາງຄົນເຮັດໃຫ້ເຮົາເສຍໃຈຫຼືຊອບຊ້ຳຄວາມຮູ້ສຶກ ລອງປ່ອຍວ່າງມັນໄປ ຕາມທີ່ຄວນຈະເປັນ ແລ້ວມາຫັ້ນທົບທວນເບີ່ງວ່າຊີວິດນີ້...ບໍ່ມີໃຜທີ່ຈະຢູ່ຍົງຄົງກະພັນໄປຕະຫລອດການ
ຄົນທີ່ມີຊື່ສຽງ ຄົນທີ່ລວຍລົ້ນຟ້າ ຫຼື ຄົນທີ່ຮັກ ສຸດທ້າຍທ້າຍສຸດກໍຕາຍຫມົດທຸກໆຄົນ ເຮົາເກີດເພື່ອມາເຍືອນຢ່າມໂລກໃບນີ້...
8ເມື່ອໃດທີ່ເຮົາຮູ້ສຶກວ່າມີຄົນມາແຍ່ງຕຳແຫນ່ງຫຼືສິ່ງຂອງຕ່າງຈາກເຮົາໄປ ໃຫ້ລອງໄຕຣຕຣອງເບີ່ງວ່າ ບໍ່ມີຄົນໃດຄອບຄອງສິ່ງໃດໃນໂລກໃບນີ້ໄດ້ຕະຫລອດໄປ ແລະບໍ່ມີໃຜເປັນເຈົ້າຂອງສິ່ງໃດແທ້ຈິງ ແມ້ແຕ່ຮ່າງກາຍນີ້ກໍຈະຄື້ນກັບໄປສູ່ທຳມະຊາດຫມົດ...
9ຄວາມສຸກງ່າຍໆທີ່ຄົນເຮົາເບີ່ງຂ້າມ ມື້ນີ້ຍັງກິນເຂົ້າໄດ້ ຍັງນອນຫລັບສະບາຍ ມີບ້ານໃຫ້ຫລົບຝົນ ບັງແດດ ມີເສື້ອຜ້າໃຫ້ສວມໃສ່ ໄປທ່ຽງໄດ້ ມີຄົນຮັກຢູ່ຂ້າງກາຍ ມີລົດໃຫ້ຂີ່ ຍັງໄດ້ອ່ານເຟສ ເບີ່ງຂໍ້ມູນຂ່າວສານ ອ່ານຄຳສອນດີໆອັນມີປະໂຫຍດ ແຄ່ນີ້ກໍຖືວ່າໂຊກດີກວ່າຄົນອື່ນເຂົາແລ້ວ.......
#ຄະຕິທັມຄຳສອນຍາມເຊົ້າ
#ເມດຕາທຳຄ້ຳຈູນໂລກ
วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563
ປະເພນີບຸນເຂົ້າສະຫລາກ 02.09.2020
ປະເພນີບຸນຫໍ່ເຂົ້າສຼາກ
👉👉 ປະເພນີບຸນຫໍ່ເຂົ້າສຼາກ ຍາມເປັນ ເພິ່ນໄດ້ລ້ຽງເຮົາມາ
ຍາມເພິ່ນ ແກ່ຊະຣາໄດ້ເບິ່ງແຍງ
ຍາມເພິ່ນ ຕາຍເຮົາກໍ່ຈັດແຈງ
ອຸທິດສ່ວນບຸນກຸສົນເຖິງ.
********************************************
ບຸນຫໍ່ເຂົ້າສາກ ທີ່ຖືກຕ້ອງຕາມເດີມນັ້ນຕ້ອງຂຽນວ່າ ບຸນຫໍ່ເຂົ້າສລາກ ເຫດຜົນທີ່ພ້ຽນມາເປັນ ສາກ ຍ້ອນວ່າພາສາລາວມີຕົວ (ລ = Xຼ) ເມື່ອຂຽນແລ້ວເພິ່ນອາດເບິ່ງບໍ່ເຫັນວ່າ ສຼາກ = ສລາກ ຈຶ່ງກາຍເປັນເວົ້າຄຳຄວບເປັນ ສາກ ໄປຕາມຄວາມມັກງ່າຍໃນການອອກສຽງ (ຄືກັບພວກຄຳຄວບຫລາຍຕົວນັ້ນແຫຼະ! ຄວາຍ ເວົ້າວ່າ ຄວຍ ເປັນຕົ້ນ).
ແຕ່ວ່າ ຊື່ເຕັມ ໆ ຂອງບຸນຫໍ່ເຂົ້າສຼາກນີ້ແມ່ນມາຈາກຄຳວ່າ “ສະລາກະພັດຕະທານ” ຄືເຮັດທານດ້ວຍການຈັບສະຫລາກສ່ຽງເອົານັ້ນເອງ ແຕ່ຄົນລາວມັນເວົ້າຄວາມງ່າຍພະຍາງດຽວເລີຍກາຍເປັນບຸນຫໍ່ເຂົ້າສາກ ຕໍ່ໄປນີ້ຫາກຈະເວົ້າໃຫ້ຖືກຕ້ອງ ໃຫ້ພາກັນເວົ້າວ່າບຸນຫໍ່ເຂົ້າສຼາກ(ສະຫລາກ) ນີ້ຄືທີ່ມາຂອງຄຳສັບ.
ທີ່ນີ້ເຮົາມາເວົ້າເລື່ອງປະເພນີອັນດີງາມຂອງລາວເຮົາ ກໍ່ຄືບຸນເດືອນສິບນີ້ ກໍ່ຍັງຖືວ່າເປັນໄລຍະທີ່ເອີ້ນວ່າລະດູການແຫ່ງຄວາມອຸດົມສົມບູນຂອງເຂົ້າປາອາຫານ ປູປານານ້ຳອຸດົມສົມບູນ ເຂົ້າກຳລັງຂຽວກະຈີ ບາງທີ່ເຂົ້າກຳລັງມານ ບາງສະຖານທີ່ກໍ່ສາມາດເຮັດເຂົ້າເໝົ້າໄດ້ແລ້ວກໍ່ມີ ຫົວມັນຫົວກອຍກຳລັງໃຫຍ່ງາມພໍດີ.
ບຸນຫໍ່ເຂົ້າສຼາກກໍ່ເປັນບຸນຕໍ່ເນື່ອງໃນການເຮັດບຸນອຸທິດຍາດ ເພາະຖືວ່າເປັນມື້ສົ່ງທ້າຍພວກຍາດທີ່ລ່ວງລັບດັບຂັນໄປດັ່ງທີ່ກ່າວໄວ້ໃນຄັ້ງກ່ອນອັນເລີ່ມຕົ້ນແຕ່ບຸນຫໍ່ເຂົ້າປະດັບດິນມາຈົນບຸນຫໍ່ເຂົ້າສຼາກ.
ການຈັດບຸນຫໍ່ເຂົ້າສຼາກກໍ່ບໍ່ແຕກຕ່າງຈາກບຸນຫໍ່ເຂົ້າປະດັບດິນປານໃດ ຕ່າງແຕ່ວ່າເປັນຫໍ່ເຂົ້າໃຫຍ່ເພື່ອສົ່ງທ້າຍ ເອີ້ນຕາມສັບສະໄໝໃໝ່ນີ້ວ່າບຸນລ້ຽງສົ່ງຜີວ່າຊັ້ນສ່ະ!
ໃນແງ່ຂອງປະເພນີລາວ ບາງເທື່ອນີ້ກໍ່ມາຄ້າຍຄືກັບປະເພນີຈີນທີ່ໃຫ້ຄວາມສຳຄັນຕໍ່ຍາດ ເພາະທາງບ້ານເຮົານີ້ແມ່ນປະເພນີບຸນຫໍ່ເຂົ້າສຼາກ ແຕ່ທາງຈີນແມ່ນປະເພນີໄຫວ້ພຣະຈັນ ແຕ່ຂອງຈີນນັ້ນຕາມເດີມແມ່ນຜູ້ຍິງໄຫວ້ ສະໄໝນີ້ໄຫວ້ທັງຍິງທັງຊາຍ ໂດຍຄວາມເຊື່ອຂອງເຂົາກໍ່ເຊື່ອວ່າແມ່ນມື້ລວມຍາດ ແມ່ນມື້ພ້ອມໜ້າພ້ອມຕາກັນໃນຄອບຄົວ ໂດຍມີພຣະຈັນເປັນສັນຍະລັກ ຫາກໄປຕົກທີ່ໃດໄກກໍ່ໃຫ້ແຫງນໜ້າເບິ່ງພຣະຈັນ ເພື່ອຮັບຮູ້ຄວາມຄິດເຖິງຂອງກັນແລະກັນ ເບິ່ງແລ້ວໃຫ້ຮັບຮູ້ຄວາມຮູ້ສຶກທີ່ດີຂອງກັນແລະກັນ ນີ້ແມ່ນຄວາມເຊື່ອຄົນຈີນ ອາດແຕກຕ່າງກັນແດ່ ແຕ່ພຣະອາຈານເບິ່ງວ່າຫາກຫາຄວາມຄ້າຍຄືກັນກໍ່ຖືວ່າມີຢູ່ ແຕ່ບັນພະບຸຣຸດນັກປຣາດລາວເຮົາຈະເນັ້ນການອຸທິດບຸນກຸສົນເປັນການແທນຄວາມຄຶດຮອດຄຶດເຖິງກັນ ຕົນເອງມີຄວາມສຸກສະບາຍໃຈ ຍາດມິດທີ່ຕາຍໄປກໍ່ໄດ້ຮັບສ່ວນບຸນກຸສົນ.
ເວົ້າເຖິງຫໍ່ເຂົ້າສຼາກນີ້ ກໍ່ແມ່ນຈັດເຊັ່ນດຽວກັນກັບບຸນຫໍ່ເຂົ້າປະດັບດິນ ຄື ຕອນເດິກກໍ່ໄປຢາຍຫໍ່ເຂົ້າເຊັ່ນກັນ ຕ່າງແຕ່ສຳລັບທີ່ຈະຖວາຍພຣະນັ້ນແມ່ນຈັດເປັນພາເຂົ້າຈຶ່ງເອີ້ນວ່າຫໍ່ເຂົ້າໃຫຍ່
ເວົ້າເຖິງຫໍ່ເຂົ້າທີ່ໄປຢາຍໄວ້ໃນຮອບເດິກກ່ອນວ່າ ຕາມຄວາມເຊື່ອລາວສະໄໝກ່ອນເພິ່ນວ່າ ຫລັງຈາກແຈກຫໍ່ເຂົ້າສຼາກແລ້ວກໍ່ຈະຕາມກັບໄປເກັບຄືນ ເອີ້ນວ່າຍາດກິນເຂົ້າເຜດ ບາງທີ່ນັ້ນຍາດກັນກິນຢ່າງສະໜຸກສະໜານ ແຕ່ພຣະອາຈານວ່າສ່ວນໃຫຍ່ແລ້ວຄົງບໍ່ມີໃຜກັບໄປເກັບຫໍ່ເຂົ້າຕົນເອງ ມີແຕ່ໄປເກັບຫໍ່ເຂົ້າຄົນອື່ນ ຢາກຮູ້ວ່າຄົນອື່ນໃສ່ຫຍັງແດ່, ແຕ່ຄວາມເຊື່ອພໍ່ແມ່ປູ່ຍ່າຕາຍາຍເພິ່ນວ່າ ໃຜຍາດກິນເຂົ້າເຜດນັ້ນ ຈະເຮັດໃຫ້ສຸຂະພາບສົມບູນ ປາສະຈາກໂຣກໄພໄຂ້ເຈັບຕ່າງ ໆ ສ່ວນໃບຕອງທີ່ຫໍ່ນັ້ນກໍ່ເອົາໄປໄວ້ຕາມໄຮ່ນາຕາກ້າຂອງຕົນ
ສຳລັບຄົນໃນເມືອງກໍ່ຄົງຈະຍາກແດ່ທີ່ຈະໄດ້ເຫັນແບບນີ້ເຮັດແບບນີ້.
ເວົ້າເຖິງພິທີກັມ ພາກເຊົ້າສ່ວນໃຫຍ່ກໍ່ແມ່ນໃສ່ບາດ ຈັບສະຫລາກພາເຂົ້າຕາມຈຳນວນພຣະເຈົ້າພຣະສົງ
ພຣະສົງສາມະເນນກໍ່ຄົງມີໃຈຕື່ນເຕັ້ນທີ່ຈະໄດ້ສ່ຽງດວງຄືກັບຍາດໂຍມນັ້ນແຫລະ!
ເພາະໃນປະເພນີການບຸນເທື່ອນີ້ແມ່ນສະແດງຄວາມເປັນປະຊາທິປະໄຕທີ່ສຸດ ເພາະອ້າຍຈົວອາດຈັບໄດ້ພາເຂົ້າໃຫຍ່ ແລະຄູບາອາຈານອາດຈັບໄດ້ພາເຂົ້ານ້ອຍກໍ່ເປັນໄດ້ ນີ້ຄົງເປັນທີ່ມາຂອງຄຳວ່າ “ທີພຣະທີຈົວ”
ເມື່ອຈັບຖືກໃຜເລກທີເທົ່າໃດເພິ່ນກໍ່ຕ້ອງໄດ້ນຳໄປຖວາຍແກ່ພຣະສົງອົງຈົວເຈົ້າຫົວຍາທ່ານຕາມໝາຍເລກນັ້ນ ບາງຄົນອາດມີປັດໄຈໄທຍະທານມາຖວາຍຕື່ມອີກຕາມແຕ່ຈິດສັດທາຂອງໃຜມັນ.
ເມື່ອໄຫວ້ຮັບສີລຖວາຍທານຈັບສະຫລາກ ຮັບພອນຢາດນ້ຳອຸທິດຜົນແລ້ວ ຜູ້ເຮັດບຸນກໍ່ມີຄວາມສຸກກາຍສະບາຍໃຈ ຍາດພີ່ນ້ອງທີ່ຕາຍໄປໄດ້ມາຮັບສ່ວນບຸນກໍ່ໂມທະນາສາທຸການໃນສ່ວນບຸນ ເຂົາກໍ່ແຖມພອນໃຫ້ຢູ່ເຢັນເປັນສຸກ ແຕ່ຫາກຍາດພີ່ນ້ອງບໍ່ມາເຮັດບຸນກຸສົນໃຫ້ເຂົາເຈົ້າກໍ່ປ້ອຍເວນເຄນແຊ່ງໃຫ້ທຸກໃຫ້ຍາກ ໃຫ້ພົບພໍ້ອຸປະສັກເສຍຫລັກເສຍຊັບອັບໂຊກ ປ້ອຍດ່າໄປເຊັ່ນນັ້ນ ຄຳບູຮານກໍ່ວ່າກັນແບບນັ້ນ.
ທີ່ພຣະອາຈານແນະນຳຄືບໍ່ໃຫ້ໄປໃສ່ໃຈກັບເລື່ອງພວກນີ້ຫລາຍເກີນໄປ ເຮັດບຸນດ້ວຍໃຈທີ່ເປັນບຸນຂອງຕົນເອງ ເຮັດບຸນເພື່ອບຸນ ຢ່າເຮັດບຸນໂດຍຄຶດວ່າຈະລຶບລ້າງບາບເພາະມັນຄົນລະສ່ວນກັນ ເຮັດບຸນເພື່ອຄວາມຫລຸດພົ້ນຈາກກິເລດຕັນຫາ ຫວັງໃຫ້ຄວາມໂລບຄວາມໂກດຄວາມຫລົງມັນທຸເລົາເບົາບາງລົງ ເຮັດບຸນດ້ວຍຫວັງມັກຜົນນິບພານຈຶ່ງຖືກຕ້ອງ ສ່ວນເລື່ອງຍາດພີ່ນ້ອງກໍ່ອຸທິດສ່ວນກຸສົນໃຫ້ເພິ່ນຕາມຄວາມເໝາະສົມ ຢ່າເຮັດບຸນຍ້ອນຄວາມກົວ ຈົ່ງເຮັດຍ້ອນຄວາມເຂົ້າໃຈ ສະບາຍໃຈ ຈົ່ງເຮັດບຸນດ້ວຍມີປັນຍາເຫັນປະໂຫຍດຈາກການເຮັດຄວາມດີມີຄຸນຄ່າ ເຮັດເພື່ອຕື່ນຢູ່ດ້ວຍສະຕິປັນຍາບໍ່ເອົາແຕ່ສັດທາປະການດຽວ ເລື່ອງຍາດພີ່ນ້ອງຫາກຜູ້ໃດເຮັດບຸນປະຈຳກໍ່ບໍ່ແມ່ນປັນຫາຫຍັງ ສ່ວນໃຫຍ່ທີ່ມີປັນຫາກໍ່ແມ່ນພວກທີ່ບໍ່ຄ່ອຍໄດ້ເຮັດບຸນນັ້ນແລ.
ສະນັ້ນ,ເມື່ອມີໂອກາດທີ່ເໝາະສົມໃນການເຮັດບຸນກໍ່ຄວນເຮັດ ຕາມຮີດສິບສອງຄອງສິບສີ່ຂອງລາວເຮົາເພິ່ນກຳນົດໄວ້ ຢ່າງນ້ອຍເດືອນລະຄັ້ງກໍ່ຍັງດີກວ່າບໍ່ເຄີຍເຮັດຫຍັງຈັກເທື່ອເລີຍ ເພາະວ່າເຖິງເຮົາຫາມາໄດ້ຫລາຍປານໃດກໍ່ຕາມ ສິ່ງທີ່ເຮົາເອົາຕາມໄປໄດ້ເມື່ອຕາຍກໍ່ມີແຕ່ບາບ-ບຸນຂອງຕົນເອງເທົ່ານັ້ນ ນອກນັ້ນກໍ່ມີແຕ່ວາງໄວ້ໃຫ້ຜູ້ຢູ່ນຳຫລັງ ຫາກເຮົາເຮັດດີ ເຂົາກໍ່ຈື່ຈຳ ເຂົາກໍ່ຣະນຶກຫາ ເຮັດບຸນເຖິງ ໃຫ້ເຂົາຈື່ຈຳເຮົາໃຫ້ແບບທີ່ດີຈະດີກວ່າ ຢ່າໃຫ້ຊີວິດເຕັມໄປດ້ວຍຄວາມຊົ່ວຫຼືວ່າງເປົ່າຈາກຄວາມດີເລີຍ ຈະເຣີນທັມ.
-----------------------
ສັກຂີທັມມິກະພິກຂຸ.
Cr:ບົດຄວາມ
ເພຈ ທັມມະພຣະລາວ.
วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563
ประวัติวัดพระธาตุพนม|ປະຫວັດຄວາມເປັນມາຂອງວັດພະທາດພະນົມ
ประวัติวัดพระธาตุพนม | ປະຫວັດຄວາມເປັນມາຂອງວັດພະທາດພະນົມ
พระธาตุพนม
พระธาตุพนมหรือเรียกตามแผ่นทองจารึกซึ่งจารึกไว้ในสมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก แห่งนครเวียงจันทน์
มาบูรณะใน พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ ว่า "ธาตุปะนม" เป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ ( กระดูกส่วนพระอุระ )
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีรูปทรงสี่เหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยศิลปลวดลายอันวิจิตรประณีตทั้งองค์
มีความหมายทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง สูงจากระดับพื้นดิน ๕๓ เมตร ฉัตรทองคำสูง ๔ เมตร
รวมเป็น ๕๗ เมตร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ห่างจากแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างประเทศลาว
กับประเทศไทยประมาณ ๕๐๐ เมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร
ในตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า องค์พระธาตุพนมสร้างครั้งแรกในราว พ.ศ. ๘ ในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร
กำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ โดยท้าวพญาทั้ง ๕ อันมีพญาศรีโคตบูร เป็นต้น และพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์
อันมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประมุข ลักษณะ การก่อสร้างในสมัยแรกนั้น ใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม
แล้วเผาให้สุกทีหลัง กว้างด้านละสองวาของพระมหากัสสปะ สูงสองวา ข้างในเป็นโพรง มีประตูเปิดทั้งสี่ด้าน
เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระมหากัส สปะเถระนำมาจากประเทศอิเนเดีย
ประดิษฐานไว้ข้างใน แล้วปิดประตูทั้งสี่ด้าน แต่ยังปิดไม่สนิททีเดียว ยังเปิดให้คนเข้าไปสักการะบูชาได้อยู่บางโอกาส
ในตำนานพระธาตุพนมบอกว่า "ยังมิได้ฐานปนาให้สมบูรณ์" นี้ก็หมายความว่า ยังมิได้ปิดประตูพระธาตุ
ให้มิดชิดนั่นเอง พึ่งมาสถาปนาให้สมบูรณ์ในราว พ.ศ. ๕๐๐
ท้าวพญาทั้ง ๕ ผู้มาเป็นประมุขประธานในการก่อสร้างพระธาตุพนมในครั้งนั้น เป็นเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่าง ๆ คือ
๑. พญาจุลณีพรหมทัค ครองแคว้นจุลมณี ก่อด้านตะวันออก
๒. พญาอินทปัตถนคร ครองเมืองอินทปัตถนคร ก่อด้านตะวันตก
๓. พญาคำแดง ครองเมืองหนองหานน้อย ก่อด้านตะวันตก
๔. พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตบูร ก่อด้านเหนือ
๕. พญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหานหลวง ก่อขึ้นรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี
ศิลปะสถาปัตยกรรม พระธาตุพนม
องค์พระธาตุพนม ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในยุคต่อมาโดยลำดับ ซึ่งจะได้นำมาเขียนไว้โดยสังเขปดังนี้
๑. การบูรณะครั้งที่ ๑ ในราว พ.ศ. ๕๐๐ โดยมีพญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ ๕ องค์
เป็นประธาน ในการบูรณะครั้งนั้น ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกดีแล้วมาก่อต่อเติมจากยอดพระธาตุพนมองค์เดิมให้สูง
ขึ้นไปอีกประมาณ ๒๔ เมตร ( สันนิษฐานดูตามลักษณะก้อนอิฐหลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังลงแล้ว )
แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกจากอุโมงค์เดิม ซึ่งทำการบรรจุตั้งแต่สมัยพระมหากัสสปเถระ ขึ้นไปประดิษฐานไว้ใหม่
ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สอง แล้วปิดประตูอย่างมิดชิด หรือสถาปนาไว้อย่างสมบูรณ์
( เวลานี้พบแล้ว อยู่สูงจากระดับพื้นดิน ๑๔.๗๐ เมตร )
๒. การบูรณะครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๗ โดยมีพระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูร แห่งเมืองศรีโคตบูร
เป็นประธาน ได้โบกสะทายตีนพระธาตุทั้งสี่ด้าน และสร้างกำแพงรอบพระธาตุ พร้อมทั้งซุ้มประตู และเจดีย์หอข้าว
พระทางทิศตะวันออกพระธาตุ ๑ องค์ ( ถูกพระธาตุหักพังทับยับเยินหมดแล้ว )
๓. การบูรณะครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ โดยมีเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน
การบูรณะครั้งนี้ ได้ใช้อิฐก่อต่อเติมจากพระธาตุชั้นที่สองซึ่งทำการบูรณะใน พ.ศ. ๕๐๐ ให้สูงขึ้นอีกประมาณ ๔๓ เมตร
ได้มีการปรับปรุงที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุใหม่ โดยสร้างอูบสำริดครอบเจดีย์ศิลาอันเป็นที่บรรจุบุษบก
และผอบพระอุรังคธาตุไว้ อย่างแน่นหนา และได้บรรจุพระพุทธรูปเงิน ทอง แก้ว มรกต และอัญมณีอันมีค่าต่าง ๆ
ไว้ภายในอูบสำริดและนอกอูบสำริดไว้มากมาย มีจารึกพระธาตุพนมว่า "ธาตุปะนม" (ประนม)
๔. การบูรณะครั้งที่ ๔ ใน พ.ศ. ๒๓๕๐ - ๕๖ โดยมีเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน ได้ทำฉัตรใหม่
ด้วยทองคำ ประดับด้วยเพชรพลอยสีต่าง ๆ ประมาณ ๒๐๐ เม็ด และได้ทำพิธียกฉัตรขึ้นสู่ยอดพระเจดีย์ในปีนั้น
( พ.ศ. ๒๓๕๖ ) ( ฉัตรนี้ ได้นำลงมาเก็บรักษาไว้ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารใน พ.ศ. ๒๔๙๗ )
๕. การบูรณะครั้งที่ ๕ โดยมีพระครูวิโรจน์รัตโนบล วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน
ได้ซ่อมแซมโบกปูนองค์พระธาตุพนมใหม่ ลงรักปิดทองส่วนบนประดับแก้วติดดาวที่ระฆัง แผ่แผ่นทองคำหุ้มยอด
ปูลานพระธาตุ ซ่อมแซมกำแพงชั้นในและชั้นกลาง
๖. การบูรณะครั้งที่ ๖ ใน พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๘๔ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ชุมจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้กรมศิลปากรอันมีหลวงวิจิตราวาทการเป็นหัวหน้า
สร้างเสริมครอบพระธาตุพนมองค์เดิมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งแต่ชัน้ที่ ๓ ขั้นไป และต่อยอดให้สูงขึ้นไป
อีก ๑๐ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร
๗. พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำ
ซึ่งเป็นของวัดที่ได้จากประชาชนบริจาคและได้ทำพิธียกฉัตรในปีนั้น ฉัตรทองคำ มีเนื้อทองของวัดอยู่
ประมาณ ๗ กิโลกรัม นอกนั้นเป็นโลหะสีทองหนักประมาณ ๒๐ กิโลกรัม ฉัตรหนักทั้งหมด ๑๑๐ กิโลกรัม
ก่อนรื้อนั่งร้าน ทางวัดได้ขอแรงสามเณรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร โบกปูนตั้งแต่ยอดซุ้มประตูพระธาตุชั้นที่ ๑
จนถึงยอดสุด ใช้เวลาทำงานอยู่ ๑ เดือนจึงแล้วเสร็จ
พระธาตุพนม
องค์พระธาตุพนม
๘. พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารได้ลงรักปิดทองพระธาตุพนมส่วนยอดประมาณ ๑๐ เมตร
จนถึงก้านฉัตร ได้ขอแรงพระภิกษุสามเณรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารช่วยทำ ใช้เวลาทำงานอยู่ ๑ เดือน
กับ ๑๕ วัน จึงเสร็จเรียบร้อยดี
๙. พ.ศ. ๒๕๑๑ ทางวัดได้ขอแรงพระภิกษุสามเณรวัดพระธาตุพนม ลงรักปิดทองลวดลายองค์พระธาตุพนมช่วงบน
ซึ่งทำการประดับใน พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๘๔ ส่วนยอดสูงประมาณ ๕ เมตร ได้เอาแผ่นทองเหลืองหุ้มแล้วจึงลงรักปิดทอง
ใช้เวลาทำงาน ๒ เดือนกว่าจึงแล้วเสร็จ
๑๐. ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ องค์พระธาตุพนมได้หักล้มลงไปทางทิศตะวันออกทั้งองค์
ทับวัตถุก่อสร้าง ๆ ซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น เช่น หอพระทางทิศเหนือและทิศใต้ ศาลาการเปรียญและพระวิหารหอพระแก้วเสียหายหมด ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากฐานหรือพระธาตุชั้นที่ ๑ ซึ่งสร้างในสมัยแรกนั้นเก่าแก่มาก
และไม่สามารถทานน้ำหนักส่วนบนได้ จึงเกิดพังทลายลงมาดังกล่าว
๑๑. วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๑๘ หลังจากองค์พระธาตุพนมพังทลายแล้ว ๒๐ วัน เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร
ได้ลงมือทำการรื้อถอนและขนย้ายซากปรักหักพังขององค์ พระธาตุพนม ใช้แรงงานคนงานจำนวน ๕๐ คน
ใช้เวลาในการรื้อถอนและขนย้ายอยู่ ๑๗๐ วันจึงเสร็จเรียบร้อยดี
๑๒. วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๑๘ ทำพิธีบูชาพระธาตุพนมและบวงสรวงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษตลอดถึงเทพเจ้า
ผู้ พิทักษ์องค์พระธาตุพนม และอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่พระธาตุจำลองชั่วคราว ทั้งนี้เพื่อความสะดวก
ในการก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่ เมื่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่เสร็จแล้ว
จะได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ที่เดิม
ในพิธีนี้มี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และพระพิมลธรรม ( อาสภมหาเถระ )
เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และในขณะเดียวกันก็ได้อัญเชีญเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่พระธาตุ จำลองด้วย
๑๓. วันที่ ๑๗ - ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๘ ( หลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังแล้ว ๖๒ วัน ) ได้พบพระอุรังคธาตุ
หรือกระดูกส่วนหัวอกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรจุอยู่ในผอบแก้ว หรือหลอดแก้ว
ซึ่งมีสัณฐานคล้ายรูปหัวใจ ผอบแก้วใบนี้หุ้มทองมีช่องเจาะสี่ด้าน มีฝาทองคำปิดสนิทสูง ๒.๑ เซนติเมตร
มีสีขาวแวววาวมาก คล้ายกับแก้วผลึก ภายในผอบมีน้ำมันจันทน์หล่อเลี้ยงอยู่
และมีพระอุรังคธาตุบรรจุอยู่ ๘ องค์
๑๔. วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘ ( หลังจากพบพระอุรังคธาตุแล้ว ๒ เดือน ๒๕ วัน )
ได้จัดสมโภชพระอุรังคธาตุขึ้นรวม ๗ วัน ๗ คืน งานเริ่มวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘ ถึงวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๑๙
ในงานนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงเสด็จมาเป็นประธานในพิธี
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์สถานที่ประกอบพิธีอยู่ที่
สนามหญ้าหน้าบริเวณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุพนม
๑๕. วันที่ ๑๐ - ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ได้จัดงานเทศกาลประจำปี
ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออบมาให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชา และนำสิ่งของที่พบในองค์พระธาตุพนม
ออกมาให้ประชาชนชมตลอดงาน
๑๖. วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๙ บริษัท อิตาเลียน - ไทย ได้ขุดหลุมลงเข็มรากพระธาตุพนมองค์ใหม่
ต่อมาวันที่ ๒๘ - ๒๙ พฤษภาคม ศกเดียวกัน ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อันมีพระเทพรัตนโมลี
เป็นประธาน ได้ทำพิธีลงเข็มรากพระธาตุพนมเพื่อเป็นปฐมฤกษ์ในการก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ ใหม่
๑๗. วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๙ สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จมาเยี่ยมคณะสงฆ์และประชาชนทั่วัดพระธาตุพนม
ได้ตรวจดูการก่อสร้างองค์พระธาตุพนม และได้ทรงนมัสการพระอุรังคธาตุด้วย
๑๘. วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๙ ถึงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๒๐ ทางวัดได้ขอแรงประชาชนในเขตอำเภอธาตุพนม
มาขนเศษอิฐเศษปูนจากบริเวณสนามหญ้าข้างในวิหารคตออกไปกองไว้ข้างนอกทางด้าน
ทิศเหนือ ซึ่งอยู่ใกล้หอพระนอน
๑๙. วันที่ ๑๙ มกราคม ถึงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ ทางวัดได้จัดงานเทศกาลประจำปี
ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ออกไปให้ประชาชนชมและสักการะบูชาอีก และมีการแสดงนิทรรศการ
ของโบราณเหมือนปีก่อน
พระธาตุพนม
๒๐. วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๐ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ได้ลงมือประดับตกแต่งลวดลายองค์พระธาตุพนม
๒๑. วันที่ ๑๗ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ ทางวัดได้จัดงานเทศกาลประจำปี ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ
ออกมาให้ประชาชนได้สักการะบูชาจนตลอดงาน พระเทพรัตนโมลี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
เจ้าคณะจังหวัดนครพนม และนายสมพร กลิ่นพงษา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานในพิธีอัญเชิญ
ได้ทำพิธีแห่โดยตั้งขบวนแห่ที่ถนนหน้าวัดแล้วเดินทางไปตามถนนชยางกูร เลี้ยวเข้าถนนหน้าพระธาตุพนมจำลอง
ตรงไปยังเบญจาซึ่งตั้งอยู่สนามหญ้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือพระธาตุ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เบญจา
เสร็จงานแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เดิม ในงานนี้มีการแสดงนิทรรศการเหมือนปีก่อนฯ
๒๒. วันที่ ๖ - ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ ทางวัดได้จัดงานนมัสการพระธาตุพนมประจำปีเหมือนปีก่อน ๆ
และได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุออกมาให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชาตลอดงาน พระเทพรัตนโมลี
เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร และนายพิชิต ลักษณะสมพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
เป็นประธานในพิธีอัญเชิญ ได้ทำพิธีแห่รอบองค์พระธาตุ ๑ รอบ แล้วจึงได้อัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานไว้
บนพระเบญจาตลอด ๗ วัน ในวันสุดท้ายของงานพระเทพรัตนโมลี พร้อมด้วยพระสงฆ์และญาติโยม
ได้ทำพิธีคาระวะพระอุรังคธาตุ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เดิม ในงานนี้มีการนำเอาของมีค่า
ซึ่งค้นพบที่องค์พระธาตุพนมออกมาให้ประชาชนได้ชม จนตลอดงานเหมือนปีที่แล้วมา
๒๓. วันที่ ๒๑ - ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๒ ทางรัฐบาลได้จัดพระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีบรรจุ ในวันแรกของงานได้ทำพิธี
แห่พระอุรังคธาตุ ในวันที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกทรงเป็นประธานยกฉัตรพระธาตุ
ในวันที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จมาทรงบรรจุพระอุรังคธาตุ
สถูปอิฐพระธาตุพนมองค์เดิม
คำไหว้พระธาตุพนม
ปุริมายะ ทักขิณายะ ปัจฉิมายะ อุตตะรายะ เหฏฐิมายะ
อุปะริมายะ ทิสายะ กะปะณะ คิริสมิง ปัพพะเต มหากัสสะเปนะ
ฐาปิตัง พุทธะอุรังคธาตุง สิระสา นะมามิ
คำไหว้ยอดพระธาตุพนม
เสตะฉัตตัง สุวัณณะระชะตัง ระตะนัง ปะณีตัง พุทธะอุรังคะเจติยัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา
ที่มา สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดนครพนม
http://www.songnkp.com/
พระธาตุพนม
พระธาตุพนมหรือเรียกตามแผ่นทองจารึกซึ่งจารึกไว้ในสมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก แห่งนครเวียงจันทน์
มาบูรณะใน พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ ว่า "ธาตุปะนม" เป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ ( กระดูกส่วนพระอุระ )
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีรูปทรงสี่เหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยศิลปลวดลายอันวิจิตรประณีตทั้งองค์
มีความหมายทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง สูงจากระดับพื้นดิน ๕๓ เมตร ฉัตรทองคำสูง ๔ เมตร
รวมเป็น ๕๗ เมตร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ห่างจากแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างประเทศลาว
กับประเทศไทยประมาณ ๕๐๐ เมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร
ในตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า องค์พระธาตุพนมสร้างครั้งแรกในราว พ.ศ. ๘ ในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร
กำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ โดยท้าวพญาทั้ง ๕ อันมีพญาศรีโคตบูร เป็นต้น และพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์
อันมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประมุข ลักษณะ การก่อสร้างในสมัยแรกนั้น ใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม
แล้วเผาให้สุกทีหลัง กว้างด้านละสองวาของพระมหากัสสปะ สูงสองวา ข้างในเป็นโพรง มีประตูเปิดทั้งสี่ด้าน
เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระมหากัส สปะเถระนำมาจากประเทศอิเนเดีย
ประดิษฐานไว้ข้างใน แล้วปิดประตูทั้งสี่ด้าน แต่ยังปิดไม่สนิททีเดียว ยังเปิดให้คนเข้าไปสักการะบูชาได้อยู่บางโอกาส
ในตำนานพระธาตุพนมบอกว่า "ยังมิได้ฐานปนาให้สมบูรณ์" นี้ก็หมายความว่า ยังมิได้ปิดประตูพระธาตุ
ให้มิดชิดนั่นเอง พึ่งมาสถาปนาให้สมบูรณ์ในราว พ.ศ. ๕๐๐
ท้าวพญาทั้ง ๕ ผู้มาเป็นประมุขประธานในการก่อสร้างพระธาตุพนมในครั้งนั้น เป็นเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่าง ๆ คือ
๑. พญาจุลณีพรหมทัค ครองแคว้นจุลมณี ก่อด้านตะวันออก
๒. พญาอินทปัตถนคร ครองเมืองอินทปัตถนคร ก่อด้านตะวันตก
๓. พญาคำแดง ครองเมืองหนองหานน้อย ก่อด้านตะวันตก
๔. พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตบูร ก่อด้านเหนือ
๕. พญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหานหลวง ก่อขึ้นรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี
ศิลปะสถาปัตยกรรม พระธาตุพนม
องค์พระธาตุพนม ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในยุคต่อมาโดยลำดับ ซึ่งจะได้นำมาเขียนไว้โดยสังเขปดังนี้
๑. การบูรณะครั้งที่ ๑ ในราว พ.ศ. ๕๐๐ โดยมีพญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ ๕ องค์
เป็นประธาน ในการบูรณะครั้งนั้น ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกดีแล้วมาก่อต่อเติมจากยอดพระธาตุพนมองค์เดิมให้สูง
ขึ้นไปอีกประมาณ ๒๔ เมตร ( สันนิษฐานดูตามลักษณะก้อนอิฐหลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังลงแล้ว )
แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกจากอุโมงค์เดิม ซึ่งทำการบรรจุตั้งแต่สมัยพระมหากัสสปเถระ ขึ้นไปประดิษฐานไว้ใหม่
ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สอง แล้วปิดประตูอย่างมิดชิด หรือสถาปนาไว้อย่างสมบูรณ์
( เวลานี้พบแล้ว อยู่สูงจากระดับพื้นดิน ๑๔.๗๐ เมตร )
๒. การบูรณะครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๗ โดยมีพระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูร แห่งเมืองศรีโคตบูร
เป็นประธาน ได้โบกสะทายตีนพระธาตุทั้งสี่ด้าน และสร้างกำแพงรอบพระธาตุ พร้อมทั้งซุ้มประตู และเจดีย์หอข้าว
พระทางทิศตะวันออกพระธาตุ ๑ องค์ ( ถูกพระธาตุหักพังทับยับเยินหมดแล้ว )
๓. การบูรณะครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ โดยมีเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน
การบูรณะครั้งนี้ ได้ใช้อิฐก่อต่อเติมจากพระธาตุชั้นที่สองซึ่งทำการบูรณะใน พ.ศ. ๕๐๐ ให้สูงขึ้นอีกประมาณ ๔๓ เมตร
ได้มีการปรับปรุงที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุใหม่ โดยสร้างอูบสำริดครอบเจดีย์ศิลาอันเป็นที่บรรจุบุษบก
และผอบพระอุรังคธาตุไว้ อย่างแน่นหนา และได้บรรจุพระพุทธรูปเงิน ทอง แก้ว มรกต และอัญมณีอันมีค่าต่าง ๆ
ไว้ภายในอูบสำริดและนอกอูบสำริดไว้มากมาย มีจารึกพระธาตุพนมว่า "ธาตุปะนม" (ประนม)
๔. การบูรณะครั้งที่ ๔ ใน พ.ศ. ๒๓๕๐ - ๕๖ โดยมีเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน ได้ทำฉัตรใหม่
ด้วยทองคำ ประดับด้วยเพชรพลอยสีต่าง ๆ ประมาณ ๒๐๐ เม็ด และได้ทำพิธียกฉัตรขึ้นสู่ยอดพระเจดีย์ในปีนั้น
( พ.ศ. ๒๓๕๖ ) ( ฉัตรนี้ ได้นำลงมาเก็บรักษาไว้ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารใน พ.ศ. ๒๔๙๗ )
๕. การบูรณะครั้งที่ ๕ โดยมีพระครูวิโรจน์รัตโนบล วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน
ได้ซ่อมแซมโบกปูนองค์พระธาตุพนมใหม่ ลงรักปิดทองส่วนบนประดับแก้วติดดาวที่ระฆัง แผ่แผ่นทองคำหุ้มยอด
ปูลานพระธาตุ ซ่อมแซมกำแพงชั้นในและชั้นกลาง
๖. การบูรณะครั้งที่ ๖ ใน พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๘๔ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ชุมจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้กรมศิลปากรอันมีหลวงวิจิตราวาทการเป็นหัวหน้า
สร้างเสริมครอบพระธาตุพนมองค์เดิมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งแต่ชัน้ที่ ๓ ขั้นไป และต่อยอดให้สูงขึ้นไป
อีก ๑๐ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร
๗. พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำ
ซึ่งเป็นของวัดที่ได้จากประชาชนบริจาคและได้ทำพิธียกฉัตรในปีนั้น ฉัตรทองคำ มีเนื้อทองของวัดอยู่
ประมาณ ๗ กิโลกรัม นอกนั้นเป็นโลหะสีทองหนักประมาณ ๒๐ กิโลกรัม ฉัตรหนักทั้งหมด ๑๑๐ กิโลกรัม
ก่อนรื้อนั่งร้าน ทางวัดได้ขอแรงสามเณรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร โบกปูนตั้งแต่ยอดซุ้มประตูพระธาตุชั้นที่ ๑
จนถึงยอดสุด ใช้เวลาทำงานอยู่ ๑ เดือนจึงแล้วเสร็จ
พระธาตุพนม
องค์พระธาตุพนม
๘. พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารได้ลงรักปิดทองพระธาตุพนมส่วนยอดประมาณ ๑๐ เมตร
จนถึงก้านฉัตร ได้ขอแรงพระภิกษุสามเณรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารช่วยทำ ใช้เวลาทำงานอยู่ ๑ เดือน
กับ ๑๕ วัน จึงเสร็จเรียบร้อยดี
๙. พ.ศ. ๒๕๑๑ ทางวัดได้ขอแรงพระภิกษุสามเณรวัดพระธาตุพนม ลงรักปิดทองลวดลายองค์พระธาตุพนมช่วงบน
ซึ่งทำการประดับใน พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๘๔ ส่วนยอดสูงประมาณ ๕ เมตร ได้เอาแผ่นทองเหลืองหุ้มแล้วจึงลงรักปิดทอง
ใช้เวลาทำงาน ๒ เดือนกว่าจึงแล้วเสร็จ
๑๐. ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ องค์พระธาตุพนมได้หักล้มลงไปทางทิศตะวันออกทั้งองค์
ทับวัตถุก่อสร้าง ๆ ซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น เช่น หอพระทางทิศเหนือและทิศใต้ ศาลาการเปรียญและพระวิหารหอพระแก้วเสียหายหมด ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากฐานหรือพระธาตุชั้นที่ ๑ ซึ่งสร้างในสมัยแรกนั้นเก่าแก่มาก
และไม่สามารถทานน้ำหนักส่วนบนได้ จึงเกิดพังทลายลงมาดังกล่าว
๑๑. วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๑๘ หลังจากองค์พระธาตุพนมพังทลายแล้ว ๒๐ วัน เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร
ได้ลงมือทำการรื้อถอนและขนย้ายซากปรักหักพังขององค์ พระธาตุพนม ใช้แรงงานคนงานจำนวน ๕๐ คน
ใช้เวลาในการรื้อถอนและขนย้ายอยู่ ๑๗๐ วันจึงเสร็จเรียบร้อยดี
๑๒. วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๑๘ ทำพิธีบูชาพระธาตุพนมและบวงสรวงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษตลอดถึงเทพเจ้า
ผู้ พิทักษ์องค์พระธาตุพนม และอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่พระธาตุจำลองชั่วคราว ทั้งนี้เพื่อความสะดวก
ในการก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่ เมื่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่เสร็จแล้ว
จะได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ที่เดิม
ในพิธีนี้มี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และพระพิมลธรรม ( อาสภมหาเถระ )
เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และในขณะเดียวกันก็ได้อัญเชีญเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่พระธาตุ จำลองด้วย
๑๓. วันที่ ๑๗ - ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๘ ( หลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังแล้ว ๖๒ วัน ) ได้พบพระอุรังคธาตุ
หรือกระดูกส่วนหัวอกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรจุอยู่ในผอบแก้ว หรือหลอดแก้ว
ซึ่งมีสัณฐานคล้ายรูปหัวใจ ผอบแก้วใบนี้หุ้มทองมีช่องเจาะสี่ด้าน มีฝาทองคำปิดสนิทสูง ๒.๑ เซนติเมตร
มีสีขาวแวววาวมาก คล้ายกับแก้วผลึก ภายในผอบมีน้ำมันจันทน์หล่อเลี้ยงอยู่
และมีพระอุรังคธาตุบรรจุอยู่ ๘ องค์
๑๔. วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘ ( หลังจากพบพระอุรังคธาตุแล้ว ๒ เดือน ๒๕ วัน )
ได้จัดสมโภชพระอุรังคธาตุขึ้นรวม ๗ วัน ๗ คืน งานเริ่มวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘ ถึงวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๑๙
ในงานนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงเสด็จมาเป็นประธานในพิธี
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์สถานที่ประกอบพิธีอยู่ที่
สนามหญ้าหน้าบริเวณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุพนม
๑๕. วันที่ ๑๐ - ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ได้จัดงานเทศกาลประจำปี
ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออบมาให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชา และนำสิ่งของที่พบในองค์พระธาตุพนม
ออกมาให้ประชาชนชมตลอดงาน
๑๖. วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๙ บริษัท อิตาเลียน - ไทย ได้ขุดหลุมลงเข็มรากพระธาตุพนมองค์ใหม่
ต่อมาวันที่ ๒๘ - ๒๙ พฤษภาคม ศกเดียวกัน ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อันมีพระเทพรัตนโมลี
เป็นประธาน ได้ทำพิธีลงเข็มรากพระธาตุพนมเพื่อเป็นปฐมฤกษ์ในการก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ ใหม่
๑๗. วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๙ สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จมาเยี่ยมคณะสงฆ์และประชาชนทั่วัดพระธาตุพนม
ได้ตรวจดูการก่อสร้างองค์พระธาตุพนม และได้ทรงนมัสการพระอุรังคธาตุด้วย
๑๘. วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๙ ถึงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๒๐ ทางวัดได้ขอแรงประชาชนในเขตอำเภอธาตุพนม
มาขนเศษอิฐเศษปูนจากบริเวณสนามหญ้าข้างในวิหารคตออกไปกองไว้ข้างนอกทางด้าน
ทิศเหนือ ซึ่งอยู่ใกล้หอพระนอน
๑๙. วันที่ ๑๙ มกราคม ถึงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ ทางวัดได้จัดงานเทศกาลประจำปี
ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ออกไปให้ประชาชนชมและสักการะบูชาอีก และมีการแสดงนิทรรศการ
ของโบราณเหมือนปีก่อน
พระธาตุพนม
๒๐. วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๐ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ได้ลงมือประดับตกแต่งลวดลายองค์พระธาตุพนม
๒๑. วันที่ ๑๗ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ ทางวัดได้จัดงานเทศกาลประจำปี ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ
ออกมาให้ประชาชนได้สักการะบูชาจนตลอดงาน พระเทพรัตนโมลี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
เจ้าคณะจังหวัดนครพนม และนายสมพร กลิ่นพงษา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานในพิธีอัญเชิญ
ได้ทำพิธีแห่โดยตั้งขบวนแห่ที่ถนนหน้าวัดแล้วเดินทางไปตามถนนชยางกูร เลี้ยวเข้าถนนหน้าพระธาตุพนมจำลอง
ตรงไปยังเบญจาซึ่งตั้งอยู่สนามหญ้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือพระธาตุ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เบญจา
เสร็จงานแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เดิม ในงานนี้มีการแสดงนิทรรศการเหมือนปีก่อนฯ
๒๒. วันที่ ๖ - ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ ทางวัดได้จัดงานนมัสการพระธาตุพนมประจำปีเหมือนปีก่อน ๆ
และได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุออกมาให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชาตลอดงาน พระเทพรัตนโมลี
เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร และนายพิชิต ลักษณะสมพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม
เป็นประธานในพิธีอัญเชิญ ได้ทำพิธีแห่รอบองค์พระธาตุ ๑ รอบ แล้วจึงได้อัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานไว้
บนพระเบญจาตลอด ๗ วัน ในวันสุดท้ายของงานพระเทพรัตนโมลี พร้อมด้วยพระสงฆ์และญาติโยม
ได้ทำพิธีคาระวะพระอุรังคธาตุ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เดิม ในงานนี้มีการนำเอาของมีค่า
ซึ่งค้นพบที่องค์พระธาตุพนมออกมาให้ประชาชนได้ชม จนตลอดงานเหมือนปีที่แล้วมา
๒๓. วันที่ ๒๑ - ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๒ ทางรัฐบาลได้จัดพระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีบรรจุ ในวันแรกของงานได้ทำพิธี
แห่พระอุรังคธาตุ ในวันที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกทรงเป็นประธานยกฉัตรพระธาตุ
ในวันที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จมาทรงบรรจุพระอุรังคธาตุ
สถูปอิฐพระธาตุพนมองค์เดิม
คำไหว้พระธาตุพนม
ปุริมายะ ทักขิณายะ ปัจฉิมายะ อุตตะรายะ เหฏฐิมายะ
อุปะริมายะ ทิสายะ กะปะณะ คิริสมิง ปัพพะเต มหากัสสะเปนะ
ฐาปิตัง พุทธะอุรังคธาตุง สิระสา นะมามิ
คำไหว้ยอดพระธาตุพนม
เสตะฉัตตัง สุวัณณะระชะตัง ระตะนัง ปะณีตัง พุทธะอุรังคะเจติยัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา
ที่มา สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดนครพนม
http://www.songnkp.com/
วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
วันลอยกระทง 2562 (Loy Krathong Festival)
วันลอยกระทง 2562 (Loy Krathong Festival)
ลอยกระทง เป็นพิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ และความเชื่อต่างๆ กัน ในปีนี้ วันลอยกระทง ตรงกับ วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2562
ประเพณีลอยกระทง (Loy Krathong Festival) มิได้มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศจีน อินเดีย เขมร ลาว และพม่า ก็มีการลอยกระทงคล้ายๆ กับบ้านเรา จะต่างกันบ้าง ก็คงเป็นเรื่องรายละเอียด พิธีกรรม และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น แม้แต่ในบ้านเราเอง การลอยกระทง ก็มาจากความเชื่อที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้รวบรวมมาบอกเล่าให้ทราบกันดังต่อไปนี้
ทำไมถึงลอยกระทง
การลอยกระทง เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ปฏิบัติกันมาแต่เมื่อไร เพียงแต่ท้องถิ่นแต่ละแห่ง ก็จะมีจุดประสงค์และความเชื่อในการลอยกระทงแตกต่างกันไป เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ก็จะเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์, เป็นบูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพุททาในอินเดีย หรือต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดา
วัตถุประสงค์ของวันลอยกระทง
นอกจากนี้ ลอยกระทง ก็ยังมีวัตถุประสงค์ เพื่อบูชาพระอุปคุตเถระที่บำเพ็ญบริกรรมคาถาในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล บางแห่งก็ลอยกระทง เพื่อบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน บางแห่งก็เพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไป ส่วนบางท้องที่ ก็จะทำเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หรือเพื่อสะเดาะเคราะห์ ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ และส่วนใหญ่ก็จะอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาไปด้วย
พระยาอนุมานราชธน ได้สันนิษฐานว่า ต้นเหตุแห่งการลอยกระทง อาจมีมูลฐานเป็นไปได้ว่า การลอยกระทงเป็นคติของชนชาติที่ประกอบกสิกรรม ซึ่งต้องอาศัยน้ำเป็นสำคัญ เมื่อพืชพันธุ์ธัญชาติงอกงามดี และเป็นเวลาที่น้ำเจิ่งนองพอดี ก็ทำกระทงลอยไปตามกระแสน้ำไหล เพื่อขอบคุณแม่คงคา หรือเทพเจ้าที่ประทานน้ำมาให้ความอุดมสมบูรณ์ เหตุนี้ จึงได้ลอยกระทงในฤดูกาลน้ำมาก และเมื่อเสร็จแล้ว จึงเล่นรื่นเริงด้วยความยินดี เท่ากับเป็นการสมโภชการงานที่ได้กระทำว่า ได้ลุล่วงและรอดมาจนเห็นผลแล้ว ท่านว่าการที่ชาวบ้านบอกว่า การลอยกระทงเป็นการขอขมาลาโทษ และขอบคุณต่อแม่คงคา ก็คงมีเค้าในทำนองเดียวกับการที่ชาติต่างๆ แต่ดึกดำบรรพ์ได้แสดงความยินดี ที่พืชผลเก็บเกี่ยวได้ จึงได้นำผลผลิตแรกที่ได้ ไปบูชาเทพเจ้าที่ตนนับถือ เพื่อขอบคุณที่บันดาลให้การเพาะปลูกของตนได้ผลดี รวมทั้งเลี้ยงดูผีที่อดอยาก และการเซ่นสรวงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ เสร็จแล้วก็มีการสมโภชเลี้ยงดูกันเอง
ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความเจริญแล้ว การวิตกทุกข์ร้อน เรื่องเพาะปลูกว่าจะไม่ได้ผลก็น้อยลงไป แต่ก็ยังทำการบวงสรวง ตามที่เคยทำมาจนเป็นประเพณี เพียงแต่ต่างก็แก้ให้เข้ากับคติลัทธิทางศาสนาที่ตนนับถือ เช่น มีการทำบุญสุนทานเพิ่มขึ้นในทางพุทธศาสนา เป็นต้น แต่ที่สุด ก็คงเหลือแต่การเล่นสนุกสนานรื่นเริงกันเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น การลอยกระทงจึงมีอยู่ในชาติต่างๆทั่วไป และการที่ไปลอยน้ำ ก็คงเป็นความรู้สึกทางจิตวิทยา ที่มนุษย์โดยธรรมดา มักจะเอาอะไรทิ้งไปในน้ำให้มันลอยไป
ทำไมกระทงส่วนใหญ่เป็นรูปดอกบัว
ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือตำนานนางนพมาศ ซึ่งเป็นพระสนมเอก ของพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือพระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ได้กล่าวถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองว่า เป็นเวลาเสด็จประพาสลำน้ำ ตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน และได้มีรับสั่งให้บรรดาพระสนมนางในทั้งหลาย ตกแต่งกระทงประดับดอกไม้ธูปเทียน นำไปลอยน้ำหน้าพระที่นั่ง ในคราวนั้น ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศพระสนมเอก ก็ได้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษ ที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งในวันดังกล่าว สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็น ก็รับสั่งถามถึงความหมาย นางก็ได้ทูลอธิบายจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า "แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นโคมลอยรูปดอกบัวปรากฏมาจนปัจจุบัน
ตำนานและความเชื่อวันลอยกระทง
จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า การลอยกระทง ในแต่ละท้องที่ก็มาจากความเชื่อ ความศรัทธาที่แตกต่างกัน บางแห่งก็มีตำนานเล่าขานกันต่อๆมา ซึ่งจะยกตัวอย่างบางเรื่องมาให้ทราบ ดังนี้
เรื่องแรก ว่ากันว่าการลอยกระทง มีต้นกำเนิดมาจากศาสนาพุทธนั่นเอง
กล่าวคือก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา กาลวันหนึ่ง นางสุชาดาอุบาสิกาได้ให้สาวใช้นำข้าวมธุปายาส (ข้าวกวนหุงด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำอ้อย) ใส่ถาดทองไปถวาย เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้ว ก็ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้าหากวันใดจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ถาดลอยทวนน้ำ ด้วยแรงสัตยาธิษฐาน และบุญญาภินิหาร ถาดก็ลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเล แล้วก็จมไปถูกขนดหางพระยานาคผู้รักษาบาดาล
พระยานาคตื่นขึ้น พอเห็นว่าเป็นอะไร ก็ประกาศก้องว่า บัดนี้ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกอีกองค์แล้ว ครั้นแล้วเทพยดาทั้งหลายและพระยานาค ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และพระยานาคก็ได้ขอให้พระพุทธองค์ ประทับรอยพระบาทไว้บนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อพวกเขาจะได้ขึ้นมาถวายสักการะได้ พระองค์ก็ทรงทำตาม ส่วนสาวใช้ก็นำความไปบอกนางสุชาดา ครั้นถึงวันนั้นของทุกปี นางสุชาดาก็จะนำเครื่องหอม และดอกไม้ใส่ถาดไปลอยน้ำ เพื่อไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำเสมอมา และต่อๆ มาก็ได้กลายเป็นประเพณีลอยกระทง ตามที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
ในเรื่องการประทับรอยพระบาทนี้ บางแห่งก็ว่า พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า ไปแสดงธรรมเทศนาในนาคพิภพ เมื่อจะเสด็จกลับ พญานาคได้ทูลขออนุสาวรีย์จากพระองค์ไว้บูชา พระพุทธองค์จึงได้ทรงอธิษฐาน ประทับรอยพระบาทไว้ที่หาดทรายแม่น้ำนัมมทา และพวกนาคทั้งหลาย จึงพากันบูชารอยพระพุทธบาทแทนพระองค์ ต่อมาชาวพุทธได้ทราบเรื่องนี้ จึงได้ทำการบูชารอยพระบาทสืบต่อกันมา โดยนำเอาเครื่องสักการะใส่กระทงลอยน้ำไป ส่วนที่ว่าลอยกระทงในวันเพ็ญ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับมาสู่โลกมนุษย์ หลังการจำพรรษา 3 เดือน ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดานั้น ก็ด้วยวันดังกล่าว เหล่าทวยเทพและพุทธบริษัท พากันมารับเสด็จนับไม่ถ้วน พร้อมด้วยเครื่องสักการบูชา และเป็นวันที่พระพุทธองค์ได้เปิดให้ประชาชนได้เห็นสวรรค์ และนรกด้วยฤทธิ์ของพระองค์ คนจึงพากันลอยกระทง เพื่อเฉลิมฉลองรับเสด็จพระพุทธเจ้า
สำหรับคติที่ว่า การลอยกระทงตามประทีป เพื่อไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ก็ว่าเป็นเพราะตรงกับวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จออกบรรพชาที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศโมลีขาด ลอยไปในอากาศตามที่ทรงอธิษฐาน พระอินทร์จึงนำผอบแก้วมาบรรจุ แล้วนำไปประดิษฐานไว้ในจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ตามประทีป คือ การจุดประทีป หรือจุดไฟในตะเกียง /โคม หรือผาง-ถ้วยดินเผาเล็กๆ) ซึ่งทางเหนือของเรา มักจะมีการปล่อยโคมลอย หรือโคมไฟที่เรียกว่า ว่าวไฟ ขึ้นไปในอากาศเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีด้วย
เรื่องที่สอง ตามตำราพรหมณ์คณาจารย์กล่าวว่า
พิธีลอยประทีปหรือตามประทีปนี้ แต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ทำขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าทั้งสามคือ พระอิศวร พระนารายณ์และพระพรหม เป็นประเภทคู่กับลอยกระทง ก่อนจะลอยก็ต้องมีการตามประทีปก่อน ซึ่งตามคัมภีร์โบราณอินเดียเรียกว่า “ทีปาวลี” โดยกำหนดทางโหราศาสตร์ว่า เมื่อพระอาทิตย์ถึงราศีพิจิก พระจันทร์อยู่ราศีพฤกษ์เมื่อใด เมื่อนั้นเป็นเวลาตามประทีป และเมื่อบูชาไว้ครบกำหนดวันแล้ว ก็เอาโคมไฟนั้นไปลอยน้ำเสีย ต่อมาชาวพุทธเห็นเป็นเรื่องดี จึงแปลงเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท และการรับเสด็จพระพุทธเจ้า ดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยมักถือเอาเดือน 12 หรือเดือนยี่เป็งเป็นเกณฑ์ (ยี่เป็งคือเดือนสอง ตามการนับทางล้านนา ที่นับเดือนทางจันทรคติ เร็วกว่าภาคกลาง 2 เดือน)
เรื่องที่สาม เป็นเรื่องของพม่า
เล่าว่า ครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมีพระประสงค์จะสร้างเจดีย์ให้ครบ 84,000 องค์ แต่ถูกพระยามารคอยขัดขวางเสมอ พระองค์จึงไปขอให้พระอรหันต์องค์หนึ่ง คือ พระอุปคุตช่วยเหลือ พระอุปคุตจึงไปขอร้องพระยานาคเมืองบาดาลให้ช่วย พระยานาครับปาก และปราบพระยามารจนสำเร็จ พระเจ้าอโศกมหาราช จึงสร้างเจดีย์ได้สำเร็จสมพระประสงค์ ตั้งแต่นั้นมา เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 12 คนทั้งหลายก็จะทำพิธีลอยกระทง เพื่อบูชาคุณพระยานาค เรื่องนี้ บางแห่งก็ว่า พระยานาค ก็คือพระอุปคุตที่อยู่ที่สะดือทะเล และมีอิทธิฤทธิ์มาก จึงปราบมารได้ และพระอุปคุตนี้ เป็นที่นับถือของชาวพม่า และชาวพายัพของไทยมาก
เรื่องที่สี่ เกิดจากความเชื่อแต่ครั้งโบราณในล้านนาว่า
เกิดอหิวาต์ระบาด ที่อาณาจักรหริภุญชัย ทำให้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่ไม่ตายจึงอพยพไปอยู่เมืองสะเทิม และหงสาวดีเป็นเวลา 6 ปี บางคนก็มีครอบครัวอยู่ที่นั่น ครั้นเมื่ออหิวาต์ได้สงบลงแล้ว บางส่วนจึงอพยพกลับ และเมื่อถึงวันครบรอบที่ได้อพยพไป ก็ได้จัดธูปเทียนสักการะ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคดังกล่าวใส่ สะเพา ( อ่านว่า “ สะ - เปา หมายถึง สำเภาหรือกระทง ) ล่องตามลำน้ำ เพื่อระลึกถึงญาติที่มีอยู่ในเมืองหงสาวดี ซึ่งการลอยกระทงดังกล่าว จะทำในวันยี่เพง คือ เพ็ญเดือนสิบสอง เรียกกันว่า การลอยโขมด แต่มิได้ทำทั่วไปในล้านนา ส่วนใหญ่เทศกาลยี่เพงนี้ ชาวล้านนาจะมีพิธีตั้งธัมม์หลวง หรือการเทศน์คัมภีร์ขนาดยาวอย่างเทศน์มหาชาติ และมีการจุดประทีปโคมไฟอย่างกว้างขวางมากกว่า (การลอยกระทง ที่ทางโบราณล้านนาเรียกว่า ลอยโขมดนี้ คำว่า “ โขมด อ่านว่า ขะ-โหมด เป็นชื่อผีป่า ชอบออกหากินกลางคืน และมีไฟพะเหนียงเห็นเป็นระยะๆ คล้ายผีกระสือ ดังนั้น จึงเรียกเอาตามลักษณะกระทง ที่จุดเทียนลอยในน้ำ เห็นเงาสะท้อนวับๆ แวมๆ คล้ายผีโขมดว่า ลอยโขมด ดังกล่าว)
เรื่องที่ห้า กล่าวกันว่าในประเทศจีนสมัยก่อน
ทางตอนเหนือ เมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำจะท่วมเสมอ บางปีน้ำท่วมจนชาวบ้านตายนับเป็นแสนๆ และหาศพไม่ได้ก็มี ราษฎรจึงจัดกระทงใส่อาหารลอยน้ำไป เพื่อเซ่นไหว้ผีเหล่านั้นเป็นงานประจำปี ส่วนที่ลอยในตอนกลางคืน ท่านสันนิษฐานว่า อาจจะต้องการความขรึม และขมุกขมัวให้เห็นขลัง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับผีๆสางๆ และผีก็ไม่ชอบปรากฏตัวในตอนกลางวัน การจุดเทียนก็เพราะหนทางไปเมืองผีมันมืด จึงต้องจุดให้แสงสว่าง เพื่อให้ผีกลับไปสะดวก ในภาษาจีนเรียกการลอยกระทงว่า ปล่อยโคมน้ำ (ปั่งจุ๊ยเต็ง) ซึ่งตรงกับของไทยว่า ลอยโคม จากเรื่องข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า การลอยกระทง ส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงความกตัญญู ระลึกถึงผู้มีพระคุณต่อมนุษย์ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า พระแม่คงคา และบรรพชน เป็นต้น และแสดงความกตเวที (ตอบแทนคุณ) ด้วยการเคารพบูชาด้วยเครื่องสักการะต่างๆ โดยเฉพาะการบูชาพระพุทธเจ้า หรือรอยพระพุทธบาท ถือได้ว่าเป็นคติธรรมอย่างหนึ่ง ที่บอกเป็นนัยให้พุทธศาสนิกชน ได้เจริญรอยตามพระบาทของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามทั้งปวงนั่นเอง
ประเพณีลอยกระทง นอกจากจะเป็นประเพณีที่มีคุณค่า ในเรื่องการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ต่อผู้มีพระคุณดังที่กล่าวมาแล้ว ประเพณีนี้ยังมีคุณค่าต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสานาด้วย เช่น ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ทำให้ชุมชนได้ร่วมมือร่วมใจกันจัดงาน หรือในบางท้องที่ที่มีการทำบุญ ก็ถือว่ามีส่วนช่วยสืบทอดพระศาสนา และในหลายๆ แห่งก็ถือเป็นโอกาสดีในการรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแม่น้ำลำคลองไปด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : อมรรัตน์ เทพกำปนาท สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
ลอยกระทง เป็นพิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ และความเชื่อต่างๆ กัน ในปีนี้ วันลอยกระทง ตรงกับ วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2562
ประเพณีลอยกระทง (Loy Krathong Festival) มิได้มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศจีน อินเดีย เขมร ลาว และพม่า ก็มีการลอยกระทงคล้ายๆ กับบ้านเรา จะต่างกันบ้าง ก็คงเป็นเรื่องรายละเอียด พิธีกรรม และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น แม้แต่ในบ้านเราเอง การลอยกระทง ก็มาจากความเชื่อที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้รวบรวมมาบอกเล่าให้ทราบกันดังต่อไปนี้
ทำไมถึงลอยกระทง
การลอยกระทง เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ปฏิบัติกันมาแต่เมื่อไร เพียงแต่ท้องถิ่นแต่ละแห่ง ก็จะมีจุดประสงค์และความเชื่อในการลอยกระทงแตกต่างกันไป เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ก็จะเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์, เป็นบูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพุททาในอินเดีย หรือต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดา
วัตถุประสงค์ของวันลอยกระทง
นอกจากนี้ ลอยกระทง ก็ยังมีวัตถุประสงค์ เพื่อบูชาพระอุปคุตเถระที่บำเพ็ญบริกรรมคาถาในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล บางแห่งก็ลอยกระทง เพื่อบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน บางแห่งก็เพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไป ส่วนบางท้องที่ ก็จะทำเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หรือเพื่อสะเดาะเคราะห์ ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ และส่วนใหญ่ก็จะอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาไปด้วย
พระยาอนุมานราชธน ได้สันนิษฐานว่า ต้นเหตุแห่งการลอยกระทง อาจมีมูลฐานเป็นไปได้ว่า การลอยกระทงเป็นคติของชนชาติที่ประกอบกสิกรรม ซึ่งต้องอาศัยน้ำเป็นสำคัญ เมื่อพืชพันธุ์ธัญชาติงอกงามดี และเป็นเวลาที่น้ำเจิ่งนองพอดี ก็ทำกระทงลอยไปตามกระแสน้ำไหล เพื่อขอบคุณแม่คงคา หรือเทพเจ้าที่ประทานน้ำมาให้ความอุดมสมบูรณ์ เหตุนี้ จึงได้ลอยกระทงในฤดูกาลน้ำมาก และเมื่อเสร็จแล้ว จึงเล่นรื่นเริงด้วยความยินดี เท่ากับเป็นการสมโภชการงานที่ได้กระทำว่า ได้ลุล่วงและรอดมาจนเห็นผลแล้ว ท่านว่าการที่ชาวบ้านบอกว่า การลอยกระทงเป็นการขอขมาลาโทษ และขอบคุณต่อแม่คงคา ก็คงมีเค้าในทำนองเดียวกับการที่ชาติต่างๆ แต่ดึกดำบรรพ์ได้แสดงความยินดี ที่พืชผลเก็บเกี่ยวได้ จึงได้นำผลผลิตแรกที่ได้ ไปบูชาเทพเจ้าที่ตนนับถือ เพื่อขอบคุณที่บันดาลให้การเพาะปลูกของตนได้ผลดี รวมทั้งเลี้ยงดูผีที่อดอยาก และการเซ่นสรวงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ เสร็จแล้วก็มีการสมโภชเลี้ยงดูกันเอง
ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความเจริญแล้ว การวิตกทุกข์ร้อน เรื่องเพาะปลูกว่าจะไม่ได้ผลก็น้อยลงไป แต่ก็ยังทำการบวงสรวง ตามที่เคยทำมาจนเป็นประเพณี เพียงแต่ต่างก็แก้ให้เข้ากับคติลัทธิทางศาสนาที่ตนนับถือ เช่น มีการทำบุญสุนทานเพิ่มขึ้นในทางพุทธศาสนา เป็นต้น แต่ที่สุด ก็คงเหลือแต่การเล่นสนุกสนานรื่นเริงกันเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น การลอยกระทงจึงมีอยู่ในชาติต่างๆทั่วไป และการที่ไปลอยน้ำ ก็คงเป็นความรู้สึกทางจิตวิทยา ที่มนุษย์โดยธรรมดา มักจะเอาอะไรทิ้งไปในน้ำให้มันลอยไป
ทำไมกระทงส่วนใหญ่เป็นรูปดอกบัว
ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือตำนานนางนพมาศ ซึ่งเป็นพระสนมเอก ของพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือพระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ได้กล่าวถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองว่า เป็นเวลาเสด็จประพาสลำน้ำ ตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน และได้มีรับสั่งให้บรรดาพระสนมนางในทั้งหลาย ตกแต่งกระทงประดับดอกไม้ธูปเทียน นำไปลอยน้ำหน้าพระที่นั่ง ในคราวนั้น ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศพระสนมเอก ก็ได้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษ ที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งในวันดังกล่าว สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็น ก็รับสั่งถามถึงความหมาย นางก็ได้ทูลอธิบายจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า "แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นโคมลอยรูปดอกบัวปรากฏมาจนปัจจุบัน
ตำนานและความเชื่อวันลอยกระทง
จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า การลอยกระทง ในแต่ละท้องที่ก็มาจากความเชื่อ ความศรัทธาที่แตกต่างกัน บางแห่งก็มีตำนานเล่าขานกันต่อๆมา ซึ่งจะยกตัวอย่างบางเรื่องมาให้ทราบ ดังนี้
เรื่องแรก ว่ากันว่าการลอยกระทง มีต้นกำเนิดมาจากศาสนาพุทธนั่นเอง
กล่าวคือก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา กาลวันหนึ่ง นางสุชาดาอุบาสิกาได้ให้สาวใช้นำข้าวมธุปายาส (ข้าวกวนหุงด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำอ้อย) ใส่ถาดทองไปถวาย เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้ว ก็ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้าหากวันใดจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ถาดลอยทวนน้ำ ด้วยแรงสัตยาธิษฐาน และบุญญาภินิหาร ถาดก็ลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเล แล้วก็จมไปถูกขนดหางพระยานาคผู้รักษาบาดาล
พระยานาคตื่นขึ้น พอเห็นว่าเป็นอะไร ก็ประกาศก้องว่า บัดนี้ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกอีกองค์แล้ว ครั้นแล้วเทพยดาทั้งหลายและพระยานาค ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และพระยานาคก็ได้ขอให้พระพุทธองค์ ประทับรอยพระบาทไว้บนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อพวกเขาจะได้ขึ้นมาถวายสักการะได้ พระองค์ก็ทรงทำตาม ส่วนสาวใช้ก็นำความไปบอกนางสุชาดา ครั้นถึงวันนั้นของทุกปี นางสุชาดาก็จะนำเครื่องหอม และดอกไม้ใส่ถาดไปลอยน้ำ เพื่อไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำเสมอมา และต่อๆ มาก็ได้กลายเป็นประเพณีลอยกระทง ตามที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
ในเรื่องการประทับรอยพระบาทนี้ บางแห่งก็ว่า พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า ไปแสดงธรรมเทศนาในนาคพิภพ เมื่อจะเสด็จกลับ พญานาคได้ทูลขออนุสาวรีย์จากพระองค์ไว้บูชา พระพุทธองค์จึงได้ทรงอธิษฐาน ประทับรอยพระบาทไว้ที่หาดทรายแม่น้ำนัมมทา และพวกนาคทั้งหลาย จึงพากันบูชารอยพระพุทธบาทแทนพระองค์ ต่อมาชาวพุทธได้ทราบเรื่องนี้ จึงได้ทำการบูชารอยพระบาทสืบต่อกันมา โดยนำเอาเครื่องสักการะใส่กระทงลอยน้ำไป ส่วนที่ว่าลอยกระทงในวันเพ็ญ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับมาสู่โลกมนุษย์ หลังการจำพรรษา 3 เดือน ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดานั้น ก็ด้วยวันดังกล่าว เหล่าทวยเทพและพุทธบริษัท พากันมารับเสด็จนับไม่ถ้วน พร้อมด้วยเครื่องสักการบูชา และเป็นวันที่พระพุทธองค์ได้เปิดให้ประชาชนได้เห็นสวรรค์ และนรกด้วยฤทธิ์ของพระองค์ คนจึงพากันลอยกระทง เพื่อเฉลิมฉลองรับเสด็จพระพุทธเจ้า
สำหรับคติที่ว่า การลอยกระทงตามประทีป เพื่อไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ก็ว่าเป็นเพราะตรงกับวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จออกบรรพชาที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศโมลีขาด ลอยไปในอากาศตามที่ทรงอธิษฐาน พระอินทร์จึงนำผอบแก้วมาบรรจุ แล้วนำไปประดิษฐานไว้ในจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ตามประทีป คือ การจุดประทีป หรือจุดไฟในตะเกียง /โคม หรือผาง-ถ้วยดินเผาเล็กๆ) ซึ่งทางเหนือของเรา มักจะมีการปล่อยโคมลอย หรือโคมไฟที่เรียกว่า ว่าวไฟ ขึ้นไปในอากาศเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีด้วย
เรื่องที่สอง ตามตำราพรหมณ์คณาจารย์กล่าวว่า
พิธีลอยประทีปหรือตามประทีปนี้ แต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ทำขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าทั้งสามคือ พระอิศวร พระนารายณ์และพระพรหม เป็นประเภทคู่กับลอยกระทง ก่อนจะลอยก็ต้องมีการตามประทีปก่อน ซึ่งตามคัมภีร์โบราณอินเดียเรียกว่า “ทีปาวลี” โดยกำหนดทางโหราศาสตร์ว่า เมื่อพระอาทิตย์ถึงราศีพิจิก พระจันทร์อยู่ราศีพฤกษ์เมื่อใด เมื่อนั้นเป็นเวลาตามประทีป และเมื่อบูชาไว้ครบกำหนดวันแล้ว ก็เอาโคมไฟนั้นไปลอยน้ำเสีย ต่อมาชาวพุทธเห็นเป็นเรื่องดี จึงแปลงเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท และการรับเสด็จพระพุทธเจ้า ดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยมักถือเอาเดือน 12 หรือเดือนยี่เป็งเป็นเกณฑ์ (ยี่เป็งคือเดือนสอง ตามการนับทางล้านนา ที่นับเดือนทางจันทรคติ เร็วกว่าภาคกลาง 2 เดือน)
เรื่องที่สาม เป็นเรื่องของพม่า
เล่าว่า ครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมีพระประสงค์จะสร้างเจดีย์ให้ครบ 84,000 องค์ แต่ถูกพระยามารคอยขัดขวางเสมอ พระองค์จึงไปขอให้พระอรหันต์องค์หนึ่ง คือ พระอุปคุตช่วยเหลือ พระอุปคุตจึงไปขอร้องพระยานาคเมืองบาดาลให้ช่วย พระยานาครับปาก และปราบพระยามารจนสำเร็จ พระเจ้าอโศกมหาราช จึงสร้างเจดีย์ได้สำเร็จสมพระประสงค์ ตั้งแต่นั้นมา เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 12 คนทั้งหลายก็จะทำพิธีลอยกระทง เพื่อบูชาคุณพระยานาค เรื่องนี้ บางแห่งก็ว่า พระยานาค ก็คือพระอุปคุตที่อยู่ที่สะดือทะเล และมีอิทธิฤทธิ์มาก จึงปราบมารได้ และพระอุปคุตนี้ เป็นที่นับถือของชาวพม่า และชาวพายัพของไทยมาก
เรื่องที่สี่ เกิดจากความเชื่อแต่ครั้งโบราณในล้านนาว่า
เกิดอหิวาต์ระบาด ที่อาณาจักรหริภุญชัย ทำให้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่ไม่ตายจึงอพยพไปอยู่เมืองสะเทิม และหงสาวดีเป็นเวลา 6 ปี บางคนก็มีครอบครัวอยู่ที่นั่น ครั้นเมื่ออหิวาต์ได้สงบลงแล้ว บางส่วนจึงอพยพกลับ และเมื่อถึงวันครบรอบที่ได้อพยพไป ก็ได้จัดธูปเทียนสักการะ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคดังกล่าวใส่ สะเพา ( อ่านว่า “ สะ - เปา หมายถึง สำเภาหรือกระทง ) ล่องตามลำน้ำ เพื่อระลึกถึงญาติที่มีอยู่ในเมืองหงสาวดี ซึ่งการลอยกระทงดังกล่าว จะทำในวันยี่เพง คือ เพ็ญเดือนสิบสอง เรียกกันว่า การลอยโขมด แต่มิได้ทำทั่วไปในล้านนา ส่วนใหญ่เทศกาลยี่เพงนี้ ชาวล้านนาจะมีพิธีตั้งธัมม์หลวง หรือการเทศน์คัมภีร์ขนาดยาวอย่างเทศน์มหาชาติ และมีการจุดประทีปโคมไฟอย่างกว้างขวางมากกว่า (การลอยกระทง ที่ทางโบราณล้านนาเรียกว่า ลอยโขมดนี้ คำว่า “ โขมด อ่านว่า ขะ-โหมด เป็นชื่อผีป่า ชอบออกหากินกลางคืน และมีไฟพะเหนียงเห็นเป็นระยะๆ คล้ายผีกระสือ ดังนั้น จึงเรียกเอาตามลักษณะกระทง ที่จุดเทียนลอยในน้ำ เห็นเงาสะท้อนวับๆ แวมๆ คล้ายผีโขมดว่า ลอยโขมด ดังกล่าว)
เรื่องที่ห้า กล่าวกันว่าในประเทศจีนสมัยก่อน
ทางตอนเหนือ เมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำจะท่วมเสมอ บางปีน้ำท่วมจนชาวบ้านตายนับเป็นแสนๆ และหาศพไม่ได้ก็มี ราษฎรจึงจัดกระทงใส่อาหารลอยน้ำไป เพื่อเซ่นไหว้ผีเหล่านั้นเป็นงานประจำปี ส่วนที่ลอยในตอนกลางคืน ท่านสันนิษฐานว่า อาจจะต้องการความขรึม และขมุกขมัวให้เห็นขลัง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับผีๆสางๆ และผีก็ไม่ชอบปรากฏตัวในตอนกลางวัน การจุดเทียนก็เพราะหนทางไปเมืองผีมันมืด จึงต้องจุดให้แสงสว่าง เพื่อให้ผีกลับไปสะดวก ในภาษาจีนเรียกการลอยกระทงว่า ปล่อยโคมน้ำ (ปั่งจุ๊ยเต็ง) ซึ่งตรงกับของไทยว่า ลอยโคม จากเรื่องข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า การลอยกระทง ส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงความกตัญญู ระลึกถึงผู้มีพระคุณต่อมนุษย์ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า พระแม่คงคา และบรรพชน เป็นต้น และแสดงความกตเวที (ตอบแทนคุณ) ด้วยการเคารพบูชาด้วยเครื่องสักการะต่างๆ โดยเฉพาะการบูชาพระพุทธเจ้า หรือรอยพระพุทธบาท ถือได้ว่าเป็นคติธรรมอย่างหนึ่ง ที่บอกเป็นนัยให้พุทธศาสนิกชน ได้เจริญรอยตามพระบาทของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามทั้งปวงนั่นเอง
ประเพณีลอยกระทง นอกจากจะเป็นประเพณีที่มีคุณค่า ในเรื่องการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ต่อผู้มีพระคุณดังที่กล่าวมาแล้ว ประเพณีนี้ยังมีคุณค่าต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสานาด้วย เช่น ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ทำให้ชุมชนได้ร่วมมือร่วมใจกันจัดงาน หรือในบางท้องที่ที่มีการทำบุญ ก็ถือว่ามีส่วนช่วยสืบทอดพระศาสนา และในหลายๆ แห่งก็ถือเป็นโอกาสดีในการรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแม่น้ำลำคลองไปด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : อมรรัตน์ เทพกำปนาท สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ປະຫວັດຍາປູ່ຕື້ ປະຫວັດຍາປູ່ຕື້ *ບ້ານຫນອງສະພັງ *ເມືອງໄຊບູລີ *ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ
ປະຫວັດຍາປູ່ຕື້
*ບ້ານຫນອງສະພັງ
*ເມືອງໄຊບູລີ
*ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ
- ຂ້ານ້ອຍ / ອາຕະມາພາບ ພຣະອາຈານສົມພານ ສຸພັດໂທ ຮອງຫົວຫນ້າກໍາມາທິການປົກຄອງສົງ ເມືອງໄຊບູລີ ຕາງຫນ້າໃຫ້ຄະນະສົງຂໍຜ່ານຊີວະປະຫວັດຫຍໍ້ ຂອງຍາປູ່ຈັນຈັນ ໄພເລາະ (ຕື້) ໂດຍສັງເຂບ ດັ່ງນີ້.
* ພູມຫຼັງ
ຍາປູ່ຈັນຈັນ ໄພເລາະ (ຕື້) ເກີດເມື່ອວັນທີ 06 /12/1925 ທີ່ບ້ານກຸດເຂົ້າປຸ້ນ ອໍາເພີເຂັມມະລາດ ຈັງຫວັດອຸບົນ ປະເທດໄທ ເຊິ່ງເປັນບຸດຂອງທ້າວ ໄພເລາະ ແລະນາງສວນ ( ເສຍຊີວິດແລ້ວທັງຄູ) ມີພີ່ນ້ອງ ຮ່ວມອຸທອນດຽວກັນ 2 ຄົນ ຊາຍທັ້ງຫມົດຍາປູ່ເປັນລູກກົກ
* ການສຶກສາ ປີ 1932 ໄດ້ສຶກສາຮຽນຈົບຊັ້ນປະຖົມ ຢູ່ທີ່ບ້ານກຸດເຂົ້າປຸ້ນ ອໍາເພີເຂັມມະລາດ ຈັງຫວັດອຸບົນ ປີ 1940 ໄດ້ເຂົ້າບວດຢູ່ວັດບ້ານກຸດເຂົ້າປຸ້ນ ອໍາເພີເຂັມມະລາດ ຈັງຫວັດອຸບົນ
ປີ 1950 ຈິ່ງໄດ້ຍົກຍ້າຍມາປະເທດລາວ ໂດຍພັກອາໃສຢູ່ ທີ່ວັດບ້ານໂພນໂດກ ເມືອງຈໍາພອນ ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ
- ປີ 1958 ໄດ້ລາສິກຂາເພດອອກສູ່ຄະລືຫັດເປັນເວລາໄດ້ 1 ປີ ແລ້ວຈິ່ງໄດ້ສ້າງຄອບຄົວໂດຍການສົມ ລົດແຕ່ງງານກັບນາງສວນ ໄພເລາະ ມີບຸດດ້ວຍກັນ 3 ຄົນ ເປັນຜູ້ຊາຍຫມົດ, ຍາປູ່ຈັນຈັນ ໄພເລາະ ເປັນຜູ້ທີ່ ມີພອນສະຫວັນມີຄວາມສາມາດພິເສດ ທາງດ້ານການສະແດງສີນລະປະວັດທະນະທາໍຂອງລາວ ຄື: ສາຍຫນັງ ປະລັດຕື້ ຖືໄດ້ວ່າເປັນຄູອາຈານທີ່ໂດດເດັ່ນທາງດ້ານການ ສາຍຫນັງປະລັດຕື້ ຈົນເຮັດເປັນຜູ້ມີຊື່ສຽງທາງດ້ານ ນີ້ທີ່ຫາຄົນທຽບໄດ້ຍາກ.
ປີ 1972 ຍາປູ່ຈັນຈັນ ໄພເລາະ ໄດ້ຍົກຍ້າຍຈາກບ້ານໂພນໂດກ ເມືອງຈາໍພອນ ມາຢູ່ບ້ານຫນອງສະ ພັງ ເມືອງໄຊບູລີ ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ ຈົນເຖິງປັດຈຸບັນນີ້ ລວມເປັນເວລາ 47 ປີ
* ຊີວະປະຫວັດຫຼັງການບວດ
ຍາປູ່ຈັນຈັນ ໄພເລາະ (ຕື້) ຈຶ່ງໄດ້ຕັດສິນໃຈກັບເຂົ້າບວດບັນພະຊາເປັນສາມະເນນອີກຄັ້ງທີ 2 ໃນມື້ ວັນທີ 05 / 07 / 1987 ຢູ່ທີ່ວັດໄຊຍະມຸງຄຸນ ບ້ານໄຊຍະມຸງຄຸນ ນະຄອນໄກສອນພົມວິຫານ ແຂວງສະຫວັນ ນະເຂດ ເຊິ່ງມີພຣະອຸບັດຊາ ໂດຍ ຍາທ່ານມະຫາງອນ ດ ໍາລົງບຸນ ເຊິ່ງປັດຈຸບັນນີ້ຄື ພຣະຍອດແກ້ວມະຫາສັງ ຄະສຸທັມມາທິບໍດີ (ມະຫາງ ນ ດໍາຣົງບຸນ) ປະທານສູນກາງ ອພສ. ຫລັງບວດໄດ້ 6 ເດືອນ ແລ້ວ ຍາປູ່ຈັນຈັນ ໄພເລາະ ຈິ່ງໄດ້ຮັບການອຸປະສົມບົດເປັນພຣະພິກຂຸ ເມື່ອວັນທີ 18/01/ 1988 ທີ່ພັດສີມາວັດໄຊຍະພູມ ບ້ານໄຊຍະພູມ ນະຄອນໄກສອນພົມວິຫານ ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ ໂດຍຍາທ່ານອາດ ສຸພັດໂທ ປະທານ ອພສ. ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ ໃນຕອນນັ້ນເປັນພຣະອຸປັດຊາ
* ດ້ານຜົນງານ
ປີ 1989 ໄດ້ນາໍສັດທາຍາດໂຍມສ້າງພັດທະສີມາຂຶ້ນ 1 ຫຼັງ ທີ່ວັດໄຊຍະສະພັງທອງ ບ້ານຫນອງສະພັງ ເມືອງໄຊບູລີ ແຂວງສະຫວັນນະ ເຂດ ຈົນແລ້ວສາໍເລັດ
- ປີ 2004 ໄດ້ນາໍສັດທາຍາດໂຍມສ້າງສາລາໂຮງທັມຂຶ້ນ 1 ຫຼັງ ກໍາແພງອ້ອມວັດ, ຫ້ອງນາໍ້ 6 ຫ້ອງ 1 ຫຼັງ ແລະໂຮງຄົວ 1 ຫຼັງ
+ ດ້ານປະຕິປະທາ - ເປັນພຣະທີ່ມີຄວາມເຄົາລົບໃນພຣະທັມວິນັຍ ມີຄວາມສະຫງ່ຽມຄ່ຽມຄົມ ສຸພາບອ່ອນໂຍນພຣະນັກ ພັດທະນາສ້າງສາ ຍາດໂຍມ ໃຫ້ຄວາມເຫຼື້ອມໃສສັດທາ ເປັນພຣະເຖຣະທີ່ສົງ ໃຫ້ຄວາມເຄົາລົບນັບຖື ເປັນຕົ້ນ ແບບໃນການປະພຶດເພດພົມມະຈັນຂອງສິດຍານຸສິດທັງຫລາຍ ແລະເຄົາລົບຍິ່ງເຊິ່ງສະແດງອອກໃຫ້ເຫັນທາງ ດ້ານຜົນງານ ການນາໍພາຂອງຍາປູ່.
* ການລະສັງຂານ
ຍາປູ່ຈັນຈັນ ໄພເລາະ ເລີ່ມສະແດງອາການອາພາດນັບຕັ້ງແຕ່ໃນປີ 2016 ດ້ວຍອາການຫາຍໃຈຜິດ ທາງຍາດໂຍມ ເຖົ້າແກ່ລູກຫຼານຍາດພີ່ນ້ອງ ໄດ້ພາຍາປູ່ໄປກວດສຸຂະພາບຢູ່ໂຮງຫມໍ ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ ທາງທ່ານຫມໍບົງມະຕິວ່າ ເປັນພະຍາດຫອບຫືດ ຝົນຕົກຫົວລົມອອກ ຈະສະແດງອາການໃຫ້ເຫັນ ບວກກັບຍາປູ່ ມີອາຍຸຫລາຍຈິ່ງທາໍໃຫ້ຮ່າງການຊະຣາພາບ ບໍ່ແຂງແຮງທາໍໃຫ້ມີອາການທາງດ້ານການຫາຍໃຈ ບໍ່ສະດວກ ທ່ານຫມໍແນະນໍາໃຫ້ໃຊ້ແຕ່ຢາຜົນອາຍເຂົ້າປາກ ເພື່ອທາໍໃຫ້ອາການພໍທຸແຕ່ເລົາ
ມາຮອດປີ 2017-19 ແຕ່ວ່າສະພາບຮ່າງກາຍສັງຂານຂອງຍາປູ່ກໍ່ໄດ້ສະແດງອາການເສື່ອມຖອຍລົງ ເປັນໄລຍະໆ ຕົກມາເຖິງວັນທີ 9-12/09/ 2019 ກໍ່ຍິ່ງສະແດງອາການແຂ່ງຂາຂອງຍາປູ່ໄດ້ບວມແຮງຂຶ້ນ ເຫັນໄດ້ຢ່າງຊັດເຈນ ຈົນມາຮອດວັນທີ 13 (9 /2019 ເວລາ 21:20 ນາທີ ຍາປູ່ຈັນຈັນ ໄພເລາະ (ຕື້) ກໍ່ໄດ້
ຫມົດລົມຫາຍໃຈມໍລະນະພາບ ລະສັງຂານດ້ວຍອາການອັນສະຫງົບ ທີ່ວັດໄຊຍະສະພັງທອງ ບ້ານຫນອງສະພັງ ເມືອງໄຊບູລີ ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ ລວມອາຍຸໄດ້94 ປີ 32 ພັນສາ
ເຫຼືອໄວ້ແຕ່ກຽດຕິຄຸນ ຜົນງານ ຄຸນງາມຄວາມດີ ໃຫ້ເລົາລູກຫຼານຍາດໂຍມໄດ້ຈົດຈຕະຫຼອດການ ຂໍ ໃຫ້ດວງວິນຍານຍາປູ່ຈົ່ງໄປສູ່ສຸກຂະຕິ ຢ່າໄດ້ຫວງໃຍເບື້ອງຫຼັງເລີຍ ສິ່ງທີ່ຍາປູ່ໄດ້ບອກສອນຕະຫຼອດ ສ່ວນ ການກໍ່ສ້າງສາລາໂຮງທາໍ ເສນາສະນະ ໃນວັດ ແລະ ອື່ນໆ ນັ້ນ ຫມູ່ຂະນ້ອຍຈະປົກປັກຮັກສາ ແລະ ສານຕໍ່ໃນ ສ່ວນທີ່ເຫຼືອໃຫ້ສໍາເລັດຕາມຈຸດປະສົງ ເຈຕະນາຂອງຍາປູ່ ຂໍດວງວິນຍານຂອງຍາປູ່ຈັນຈັນ ຢ່າໄດ້ຫວງໃຍ ຜູ້ ຢູ່ພາຍຫຼັງເລີຍ ຂໍເດດອໍານາດບຸນກຸສົນທັງຫຼາຍ ຈົ່ງບັນດານ ອະພິບານຄຸ້ມຄອງ ໃຫ້ຈິດຕະດວງວິນຍານຂອງ ຍາປູ່ ໄປສະຖິດໃນສຸຂະຕິພົບ ເທິງສວງສະຫວັນຄາໄລ ດ້ວຍເຖີ້ນ.
*ບ້ານຫນອງສະພັງ
*ເມືອງໄຊບູລີ
*ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ
- ຂໍນ້ອມໄຫວ້ຄຸນພຣະສີຣັຕຕະນະໄຕຣ
- ຂໍນ້ອມໄຫວ້ພຣະຫຼັກຄໍາສຸວັນນະເຂດຕາທິຄຸນເຖຣາຈານ (ສົມບູນ ສິຣິປັນໂຍ) ເຈົ້າຄະນະແຂວງສະ ຫວັນນະ ເຂດ
- ຂໍສະ ແດງຄວາມເຄົາລົບ ແດ່ພຣະ ເຖຣານຸເຖຣະ ແລະຄະນະສົງ ທຸກໆ ຮູບ ຂໍຈະ ເລີນພອນ ທ່ານ.. ຂໍຈະ ເລີນພອນ ທ່ານ.
- ຂ້ານ້ອຍ / ອາຕະມາພາບ ພຣະອາຈານສົມພານ ສຸພັດໂທ ຮອງຫົວຫນ້າກໍາມາທິການປົກຄອງສົງ ເມືອງໄຊບູລີ ຕາງຫນ້າໃຫ້ຄະນະສົງຂໍຜ່ານຊີວະປະຫວັດຫຍໍ້ ຂອງຍາປູ່ຈັນຈັນ ໄພເລາະ (ຕື້) ໂດຍສັງເຂບ ດັ່ງນີ້.
* ພູມຫຼັງ
ຍາປູ່ຈັນຈັນ ໄພເລາະ (ຕື້) ເກີດເມື່ອວັນທີ 06 /12/1925 ທີ່ບ້ານກຸດເຂົ້າປຸ້ນ ອໍາເພີເຂັມມະລາດ ຈັງຫວັດອຸບົນ ປະເທດໄທ ເຊິ່ງເປັນບຸດຂອງທ້າວ ໄພເລາະ ແລະນາງສວນ ( ເສຍຊີວິດແລ້ວທັງຄູ) ມີພີ່ນ້ອງ ຮ່ວມອຸທອນດຽວກັນ 2 ຄົນ ຊາຍທັ້ງຫມົດຍາປູ່ເປັນລູກກົກ
* ການສຶກສາ ປີ 1932 ໄດ້ສຶກສາຮຽນຈົບຊັ້ນປະຖົມ ຢູ່ທີ່ບ້ານກຸດເຂົ້າປຸ້ນ ອໍາເພີເຂັມມະລາດ ຈັງຫວັດອຸບົນ ປີ 1940 ໄດ້ເຂົ້າບວດຢູ່ວັດບ້ານກຸດເຂົ້າປຸ້ນ ອໍາເພີເຂັມມະລາດ ຈັງຫວັດອຸບົນ
ປີ 1950 ຈິ່ງໄດ້ຍົກຍ້າຍມາປະເທດລາວ ໂດຍພັກອາໃສຢູ່ ທີ່ວັດບ້ານໂພນໂດກ ເມືອງຈໍາພອນ ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ
- ປີ 1958 ໄດ້ລາສິກຂາເພດອອກສູ່ຄະລືຫັດເປັນເວລາໄດ້ 1 ປີ ແລ້ວຈິ່ງໄດ້ສ້າງຄອບຄົວໂດຍການສົມ ລົດແຕ່ງງານກັບນາງສວນ ໄພເລາະ ມີບຸດດ້ວຍກັນ 3 ຄົນ ເປັນຜູ້ຊາຍຫມົດ, ຍາປູ່ຈັນຈັນ ໄພເລາະ ເປັນຜູ້ທີ່ ມີພອນສະຫວັນມີຄວາມສາມາດພິເສດ ທາງດ້ານການສະແດງສີນລະປະວັດທະນະທາໍຂອງລາວ ຄື: ສາຍຫນັງ ປະລັດຕື້ ຖືໄດ້ວ່າເປັນຄູອາຈານທີ່ໂດດເດັ່ນທາງດ້ານການ ສາຍຫນັງປະລັດຕື້ ຈົນເຮັດເປັນຜູ້ມີຊື່ສຽງທາງດ້ານ ນີ້ທີ່ຫາຄົນທຽບໄດ້ຍາກ.
ປີ 1972 ຍາປູ່ຈັນຈັນ ໄພເລາະ ໄດ້ຍົກຍ້າຍຈາກບ້ານໂພນໂດກ ເມືອງຈາໍພອນ ມາຢູ່ບ້ານຫນອງສະ ພັງ ເມືອງໄຊບູລີ ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ ຈົນເຖິງປັດຈຸບັນນີ້ ລວມເປັນເວລາ 47 ປີ
* ຊີວະປະຫວັດຫຼັງການບວດ
ຍາປູ່ຈັນຈັນ ໄພເລາະ (ຕື້) ຈຶ່ງໄດ້ຕັດສິນໃຈກັບເຂົ້າບວດບັນພະຊາເປັນສາມະເນນອີກຄັ້ງທີ 2 ໃນມື້ ວັນທີ 05 / 07 / 1987 ຢູ່ທີ່ວັດໄຊຍະມຸງຄຸນ ບ້ານໄຊຍະມຸງຄຸນ ນະຄອນໄກສອນພົມວິຫານ ແຂວງສະຫວັນ ນະເຂດ ເຊິ່ງມີພຣະອຸບັດຊາ ໂດຍ ຍາທ່ານມະຫາງອນ ດ ໍາລົງບຸນ ເຊິ່ງປັດຈຸບັນນີ້ຄື ພຣະຍອດແກ້ວມະຫາສັງ ຄະສຸທັມມາທິບໍດີ (ມະຫາງ ນ ດໍາຣົງບຸນ) ປະທານສູນກາງ ອພສ. ຫລັງບວດໄດ້ 6 ເດືອນ ແລ້ວ ຍາປູ່ຈັນຈັນ ໄພເລາະ ຈິ່ງໄດ້ຮັບການອຸປະສົມບົດເປັນພຣະພິກຂຸ ເມື່ອວັນທີ 18/01/ 1988 ທີ່ພັດສີມາວັດໄຊຍະພູມ ບ້ານໄຊຍະພູມ ນະຄອນໄກສອນພົມວິຫານ ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ ໂດຍຍາທ່ານອາດ ສຸພັດໂທ ປະທານ ອພສ. ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ ໃນຕອນນັ້ນເປັນພຣະອຸປັດຊາ
* ດ້ານຜົນງານ
ປີ 1989 ໄດ້ນາໍສັດທາຍາດໂຍມສ້າງພັດທະສີມາຂຶ້ນ 1 ຫຼັງ ທີ່ວັດໄຊຍະສະພັງທອງ ບ້ານຫນອງສະພັງ ເມືອງໄຊບູລີ ແຂວງສະຫວັນນະ ເຂດ ຈົນແລ້ວສາໍເລັດ
- ປີ 2004 ໄດ້ນາໍສັດທາຍາດໂຍມສ້າງສາລາໂຮງທັມຂຶ້ນ 1 ຫຼັງ ກໍາແພງອ້ອມວັດ, ຫ້ອງນາໍ້ 6 ຫ້ອງ 1 ຫຼັງ ແລະໂຮງຄົວ 1 ຫຼັງ
+ ດ້ານປະຕິປະທາ - ເປັນພຣະທີ່ມີຄວາມເຄົາລົບໃນພຣະທັມວິນັຍ ມີຄວາມສະຫງ່ຽມຄ່ຽມຄົມ ສຸພາບອ່ອນໂຍນພຣະນັກ ພັດທະນາສ້າງສາ ຍາດໂຍມ ໃຫ້ຄວາມເຫຼື້ອມໃສສັດທາ ເປັນພຣະເຖຣະທີ່ສົງ ໃຫ້ຄວາມເຄົາລົບນັບຖື ເປັນຕົ້ນ ແບບໃນການປະພຶດເພດພົມມະຈັນຂອງສິດຍານຸສິດທັງຫລາຍ ແລະເຄົາລົບຍິ່ງເຊິ່ງສະແດງອອກໃຫ້ເຫັນທາງ ດ້ານຜົນງານ ການນາໍພາຂອງຍາປູ່.
* ການລະສັງຂານ
ຍາປູ່ຈັນຈັນ ໄພເລາະ ເລີ່ມສະແດງອາການອາພາດນັບຕັ້ງແຕ່ໃນປີ 2016 ດ້ວຍອາການຫາຍໃຈຜິດ ທາງຍາດໂຍມ ເຖົ້າແກ່ລູກຫຼານຍາດພີ່ນ້ອງ ໄດ້ພາຍາປູ່ໄປກວດສຸຂະພາບຢູ່ໂຮງຫມໍ ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ ທາງທ່ານຫມໍບົງມະຕິວ່າ ເປັນພະຍາດຫອບຫືດ ຝົນຕົກຫົວລົມອອກ ຈະສະແດງອາການໃຫ້ເຫັນ ບວກກັບຍາປູ່ ມີອາຍຸຫລາຍຈິ່ງທາໍໃຫ້ຮ່າງການຊະຣາພາບ ບໍ່ແຂງແຮງທາໍໃຫ້ມີອາການທາງດ້ານການຫາຍໃຈ ບໍ່ສະດວກ ທ່ານຫມໍແນະນໍາໃຫ້ໃຊ້ແຕ່ຢາຜົນອາຍເຂົ້າປາກ ເພື່ອທາໍໃຫ້ອາການພໍທຸແຕ່ເລົາ
ມາຮອດປີ 2017-19 ແຕ່ວ່າສະພາບຮ່າງກາຍສັງຂານຂອງຍາປູ່ກໍ່ໄດ້ສະແດງອາການເສື່ອມຖອຍລົງ ເປັນໄລຍະໆ ຕົກມາເຖິງວັນທີ 9-12/09/ 2019 ກໍ່ຍິ່ງສະແດງອາການແຂ່ງຂາຂອງຍາປູ່ໄດ້ບວມແຮງຂຶ້ນ ເຫັນໄດ້ຢ່າງຊັດເຈນ ຈົນມາຮອດວັນທີ 13 (9 /2019 ເວລາ 21:20 ນາທີ ຍາປູ່ຈັນຈັນ ໄພເລາະ (ຕື້) ກໍ່ໄດ້
ຫມົດລົມຫາຍໃຈມໍລະນະພາບ ລະສັງຂານດ້ວຍອາການອັນສະຫງົບ ທີ່ວັດໄຊຍະສະພັງທອງ ບ້ານຫນອງສະພັງ ເມືອງໄຊບູລີ ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ ລວມອາຍຸໄດ້94 ປີ 32 ພັນສາ
ເຫຼືອໄວ້ແຕ່ກຽດຕິຄຸນ ຜົນງານ ຄຸນງາມຄວາມດີ ໃຫ້ເລົາລູກຫຼານຍາດໂຍມໄດ້ຈົດຈຕະຫຼອດການ ຂໍ ໃຫ້ດວງວິນຍານຍາປູ່ຈົ່ງໄປສູ່ສຸກຂະຕິ ຢ່າໄດ້ຫວງໃຍເບື້ອງຫຼັງເລີຍ ສິ່ງທີ່ຍາປູ່ໄດ້ບອກສອນຕະຫຼອດ ສ່ວນ ການກໍ່ສ້າງສາລາໂຮງທາໍ ເສນາສະນະ ໃນວັດ ແລະ ອື່ນໆ ນັ້ນ ຫມູ່ຂະນ້ອຍຈະປົກປັກຮັກສາ ແລະ ສານຕໍ່ໃນ ສ່ວນທີ່ເຫຼືອໃຫ້ສໍາເລັດຕາມຈຸດປະສົງ ເຈຕະນາຂອງຍາປູ່ ຂໍດວງວິນຍານຂອງຍາປູ່ຈັນຈັນ ຢ່າໄດ້ຫວງໃຍ ຜູ້ ຢູ່ພາຍຫຼັງເລີຍ ຂໍເດດອໍານາດບຸນກຸສົນທັງຫຼາຍ ຈົ່ງບັນດານ ອະພິບານຄຸ້ມຄອງ ໃຫ້ຈິດຕະດວງວິນຍານຂອງ ຍາປູ່ ໄປສະຖິດໃນສຸຂະຕິພົບ ເທິງສວງສະຫວັນຄາໄລ ດ້ວຍເຖີ້ນ.
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ບຸນຫໍ່ເຂົ້າປະດັບດີນ
ທີ່ມາຂອງບຸນຫໍ່ເຂົ້າປະດັບດີນ
ວ່າດ້ວຍບຸນຫໍ່ເຂົ້າປະດັບດິນ:
1.ເພື່ອບູຊາເທບພະເຈົ້າຂອງແຜ່ນດິນ ທີ່ມີບຸນຄຸນຕໍ່ທຸກໆຊີວິດ…
2.ເປັນເທດສະການເຮັດພາເຂົ້າ ອຸທິດຫາບັນພະບຸລຸດ…
3.ເພື່ອອຸດທິດແຜ່ຜົນບຸນ ໃຫ້ແກ່ສັບພະສັດທັງຫລາຍ ທີ່ມີຍາດ ແລະບໍ່ມີຍາດ (ເຮັດບຸນໃຫ້ຜີເຜດ ຫລື ຜີບໍລິສາດ) ແລະ ອື່ນໆ…
ຫໍ່ເຂົ້າປະດັບດິນ ຄວນຫໍ່ໃສ່ໃບຕອງ ໃບບົວ ຫລື ໃບໄມ້ປະເພດຕ່າງໆ ບໍ່ຄວນໃສ່ກ່ອງໂຟມ ຫລື ຖົງຢາງ, ໃນຫໍ່ເຂົ້ານັ້ນມີ ເຂົ້າສຸກ ຊີ້ນແຫ້ງ ປາຕາຍ ຄາວ ຫວານ ໝາກໄມ້ປະເພດຕ່າງໆ ຕາມແຕ່ຈະຫາໄດ້… ເອົາໄປບູຊາຕອນເຊົ້າກ່ອນຕາເວັນຂຶ້ນ ມື້ແຮມ 14 ຄໍ່າ ເດືອນ 9 ຫລື ເດືອນ 9 ດັບ ຫລັງຈາກເຈົ້າຫົວຕີກອງຮຸ່ງແລ້ວ ຢ່າບູຊາ
ຫລື ຢາຍເດິກຫລາຍມັນຈະບໍ່ເໝາະສົມ ຖືເອົາຊ່ວງເວລາປະມານ 04:00-06:00 ນ. ໂດຍບໍ່ຕ້ອງເຄນໃຫ້ພຣະສົງກ່ອນ ເອົາໄປຢາຍບູຊາໂລດ ສະຖານທີ່ບູຊາມີ ໜ້າບ້ານຕົນເອງ ຕາມກຳແພງວັດ ຫົວໄຮ່ ປາຍນາ… ວາງລົງກັບພື້ນດິນ ໄຕ້ທູບທຽນບູຊາ ຢາດນໍ້າ
ຫລື ບໍ່ຢາດນໍ້າ ເວົ້າເອົາກະໄດ້ວ່າ: ຂ້າພະເຈົ້າຊື່…. ໄດ້ແຈກຢາຍຫໍ່ເຂົ້າປະດັບດິນ ບູຊາແຜ່ນດິນ ພຣະແມ່ທໍລະນີ, ຍາດພີ່ນ້ອງຊື່…. ຕລອດເຖິງຜີບໍລິສາດທີ່ມີຍາດ ແລະ ບໍ່ມີຍາດ ໃຫ້ມາຮັບ… ໃຫ້ໄດ້ຢູ່ໄດ້ກິນ ແລ້ວໃຫ້ໄປເກີດທີ່ດີເຖິງສຸກ…ຖືວ່າຈົບພິທີ, ແຈ້ງຕາມາເຊົ້າ ຈິ່ງເວນພາເຂົ້າ ແລະ ຕັກບາດ ຢາດນໍ້າ ຫາບັນພະບຸລຸດ ຕາມປະເພນີ ອີກເທື່ອນຶ່ງ…
ທີ່ມາ: Phra Bounthavy Prasitthisack
ວ່າດ້ວຍບຸນຫໍ່ເຂົ້າປະດັບດິນ:
1.ເພື່ອບູຊາເທບພະເຈົ້າຂອງແຜ່ນດິນ ທີ່ມີບຸນຄຸນຕໍ່ທຸກໆຊີວິດ…
2.ເປັນເທດສະການເຮັດພາເຂົ້າ ອຸທິດຫາບັນພະບຸລຸດ…
3.ເພື່ອອຸດທິດແຜ່ຜົນບຸນ ໃຫ້ແກ່ສັບພະສັດທັງຫລາຍ ທີ່ມີຍາດ ແລະບໍ່ມີຍາດ (ເຮັດບຸນໃຫ້ຜີເຜດ ຫລື ຜີບໍລິສາດ) ແລະ ອື່ນໆ…
ຫໍ່ເຂົ້າປະດັບດິນ ຄວນຫໍ່ໃສ່ໃບຕອງ ໃບບົວ ຫລື ໃບໄມ້ປະເພດຕ່າງໆ ບໍ່ຄວນໃສ່ກ່ອງໂຟມ ຫລື ຖົງຢາງ, ໃນຫໍ່ເຂົ້ານັ້ນມີ ເຂົ້າສຸກ ຊີ້ນແຫ້ງ ປາຕາຍ ຄາວ ຫວານ ໝາກໄມ້ປະເພດຕ່າງໆ ຕາມແຕ່ຈະຫາໄດ້… ເອົາໄປບູຊາຕອນເຊົ້າກ່ອນຕາເວັນຂຶ້ນ ມື້ແຮມ 14 ຄໍ່າ ເດືອນ 9 ຫລື ເດືອນ 9 ດັບ ຫລັງຈາກເຈົ້າຫົວຕີກອງຮຸ່ງແລ້ວ ຢ່າບູຊາ
ຫລື ຢາຍເດິກຫລາຍມັນຈະບໍ່ເໝາະສົມ ຖືເອົາຊ່ວງເວລາປະມານ 04:00-06:00 ນ. ໂດຍບໍ່ຕ້ອງເຄນໃຫ້ພຣະສົງກ່ອນ ເອົາໄປຢາຍບູຊາໂລດ ສະຖານທີ່ບູຊາມີ ໜ້າບ້ານຕົນເອງ ຕາມກຳແພງວັດ ຫົວໄຮ່ ປາຍນາ… ວາງລົງກັບພື້ນດິນ ໄຕ້ທູບທຽນບູຊາ ຢາດນໍ້າ
ຫລື ບໍ່ຢາດນໍ້າ ເວົ້າເອົາກະໄດ້ວ່າ: ຂ້າພະເຈົ້າຊື່…. ໄດ້ແຈກຢາຍຫໍ່ເຂົ້າປະດັບດິນ ບູຊາແຜ່ນດິນ ພຣະແມ່ທໍລະນີ, ຍາດພີ່ນ້ອງຊື່…. ຕລອດເຖິງຜີບໍລິສາດທີ່ມີຍາດ ແລະ ບໍ່ມີຍາດ ໃຫ້ມາຮັບ… ໃຫ້ໄດ້ຢູ່ໄດ້ກິນ ແລ້ວໃຫ້ໄປເກີດທີ່ດີເຖິງສຸກ…ຖືວ່າຈົບພິທີ, ແຈ້ງຕາມາເຊົ້າ ຈິ່ງເວນພາເຂົ້າ ແລະ ຕັກບາດ ຢາດນໍ້າ ຫາບັນພະບຸລຸດ ຕາມປະເພນີ ອີກເທື່ອນຶ່ງ…
ທີ່ມາ: Phra Bounthavy Prasitthisack
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)